Page 112 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 112
๔
บทที่
(๒.๓) การจ้างเหมาช่วงงานทำให้สถานประกอบกิจการ หรือผู้ว่าจ้างในขั้นตอนแรกของการจ้าง
ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ต่อลูกจ้างของผู้รับเหมาช่วงตลอดสายการผลิต ผู้รับเหมาชั้นต้น หรือผู้รับจ้าง
ในขั้นตอนแรกเพียงแต่ร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วง ต่อลูกจ้างของผู้รับเหมาช่วงเฉพาะในเงินค่าจ้าง ค่า
ล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษตามพระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ เงินทดแทนตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ และเงิน
สมทบกองทุนประกันสังคมตามพระราบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เท่านั้น
การจ้างเหมาช่วงในประเทศไทยมีความซับซ้อนมาก ทำให้เกิดช่องว่างมากมายและท้าทายต่อ
การบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมายด้านแรงงานอย่างยิ่ง
(๒.๔) ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการเจรจาต่อรอง มีข้อกำหนดที่จำกัดหรือ
กีดกันสิทธิหรือสวัสดิการสำหรับลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้าง เช่น ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะ
เวลาการจ้างแน่นอนไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัส เป็นต้น ถือได้ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
แต่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานก็ยังรับจดทะเบียนข้อตกลง ดังกล่าว
การดำเนินการของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
และมาตรการในการแก้ไขปัญหา
ด้านการคุ้มครองแรงงาน สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานและการประกันสังคม
คณะอนุกรรมการฯ ให้ความสำคัญกับการประสานงานกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ให้ตรวจสอบสถานประกอบกิจการต่าง ๆ ที่ถูกร้องเรียนและรายงานผลให้คณะอนุกรรมการฯ ทราบ
ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ปัญหาอาจมีบ้างในเรื่องจะตรวจสอบอย่างไรที่มีประสิทธิภาพ
ได้ข้อเท็จจริงถูกต้องครบถ้วนและมีการคุ้มครองพยานที่ให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่
ในบางกรณีคณะอนุกรรมการ ฯ ขอร่วมสังเกตการณ์การตรวจสอบด้วย แต่ในประเด็นหลังนี้
ยังไม่มีการปฏิบัติ
การดำเนินการที่สำคัญของคณะอนุกรรมการ มีดังนี้
ตลอดระยะเวลา ๕ ปี คณะอนุกรรมการฯ ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในด้านการ
ไกล่เกลี่ยในกรอบสิทธิมนุษยชน การสร้างความตระหนักในเรื่องสิทธิแรงงาน การประสานเครือข่าย
ภาคประชาชนและภาครัฐในระดับภูมิภาคเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา ตลอดจนการรณรงค์เผยแพร่
ความรู้และข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
๑) กรณีที่คณะอนุกรรมการ ฯ ไกล่เกลี่ย ทำความเข้าใจ และประสานความร่วมมือ
ระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง หน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาสังคมด้านแรงงาน จนนายจ้างและ
ลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานสามารถตกลงกันได้ เช่น
๑.๑ กรณีบริษัท เอ็ม เค เอส จิวเวลรี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ยอม
เข้าทำงานเนื่องจากถูกนายจ้างค้นตัวอย่างเข้มข้นเพื่อตรวจสอบกรณีทรัพย์สินหาย โดย นายจ้างได้
จ่ายเงินค่าชดเชยให้ตามกฎหมาย
๑๑๒ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 112 7/28/08 9:00:45 PM