Page 111 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 111
การละเมิดสิทธิแรงงาน
คนทำงานภาคเอกชน
ในประเด็นนี้ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่า
สถานประกอบกิจการในฐานะผู้ว่าจ้างเหมาค่าแรง
เป็นเพียงผู้ค้ำประกันผู้รับเหมาค่าแรง ในกรณีที่
ผู้รับเหมาค่าแรงที่เป็นนายจ้างแท้จริงไม่รับผิดชอบ
ต่อลูกจ้างของตน ในสิทธิตามพระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ เท่านั้น แม้ข้อบังคับ
เกี่ยวกับการทำงาน ได้กำหนดสิทธิหรือสวัสดิการ
ต่าง ๆ ไว้สูงกว่าหรือนอกเหนือกฎหมาย เช่น ให้
หยุดพักผ่อนประจำปีได้ ปีละ ๑๐ วัน ชุดทำงาน
ที่พัก และเงินโบนัส สถานประกอบกิจการก็รับผิด
ชอบต่อลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงเพียงเท่าที่เป็น
สิทธิขั้นพื้นฐานตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครอง
แรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ กำหนดไว้เท่านั้น (คำพิพากษา
ฎีกาที่ ๑๙๗-๑๙๙/๒๕๕๐)
(๒.๒) กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กล่าวถึง
นิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างตามสัญญา
จ้างแรงงานเท่านั้น ดังนั้นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพ
การจ้างตามกฎหมายจึงเป็นเรื่องระหว่างนายจ้าง
กับลูกจ้างแท้จริงเช่นเดียวกัน
ดังนั้น ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรง หรือ
สหภาพแรงงานประเภทนายจ้างเดียวกัน ซึ่งนายจ้างเป็นผู้รับเหมาค่าแรง ย่อมไม่มีสิทธิยื่นข้อเรียก
ร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อสถานประกอบกิจการที่เป็นผู้จ้างเหมาค่าแรงได้
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาโต้แย้งกันในทางกฎหมายว่าลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรง ซึ่งทำงานใน
กระบวนการผลิตของสถานประกอบกิจการ จะมีสิทธิเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานประเภท
กิจการของสถานประกอบกิจการได้หรือไม่ เนื่องจากนักกฎหมายและข้าราชการกระทรวงแรงงานบาง
ส่วนเห็นว่าประเภทกิจการของนายจ้างผู้รับเหมาค่าแรง คือการให้บริการรับเหมาแรงงาน
สถานประกอบกิจการที่มีการจ้างเหมาค่าแรงหลายๆ บริษัททำให้เกิดสภาพการจ้างที่แตกต่างและ
หลากหลายมาก
เห็นได้ว่าการจ้างเหมาค่าแรงได้ทำลายหลักการหรือแนวคิด “หนึ่งสถานประกอบกิจการมีข้อ
ตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเดียว” ตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่มีหลักอยู่ว่า หากมีลูกจ้าง
เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องเกินสองในสามของลูกจ้างทั้งหมด ให้ถือว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น
มีผลผูกพันนายจ้างและลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกันนั้นทุกคน และเมื่อมีข้อตกลงเกี่ยว
กับสภาพการจ้างที่เกิดจากการเรียกร้องตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ใช้บังคับแล้ว ห้ามนายจ้างทำ
สัญญาจ้างกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงดังกล่าว เว้นแต่เป็นคุณยิ่งกว่า
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๑๑
Master 2 anu .indd 111 7/28/08 9:00:44 PM