Page 109 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 109
การละเมิดสิทธิแรงงาน
คนทำงานภาคเอกชน
มีการเข้ารับฟังการสอบสวนทางวินัยของนายจ้าง หรือการเจรจาต่อรองระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
ที่มีประเด็นคาบเกี่ยวความผิดทางอาญา การตรวจสารเสพติด การมีธุรกิจการให้บริการแก่นายจ้างด้าน
การรักษาความปลอดภัย การตรวจค้นร่างกาย การดูแลความสงบเรียบร้อยในระหว่างมีข้อพิพาทแรงงาน
ตลอดจนการพิสูจน์โดยเครื่องจับเท็จ ทั้งที่เป็นการกระทำที่อยู่นอกเหนืออำนาจตามกฎหมาย
จากกการตรวจสอบพบว่า การปฏิบัติของเจ้าพนักงานตำรวจมีข้อบกพร่องหลายประการ เช่น
พนักงานสอบสวนขาดความรู้และไม่ค่อยให้ความสำคัญกับมิติด้านแรงงาน ดำเนินคดีอาญาโดยไม่
พิจารณาพฤติการณ์ หรือสถานการณ์ปัญหาด้านแรงงาน เช่น นายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เอา
เปรียบลูกจ้าง ไม่ปรับปรุงสภาพการจ้างหรือความปลอดภัยในที่ทำงานให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือไม่
พอใจที่ลูกจ้างใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย
เจ้าหน้าที่ตำรวจในบางกรณีจึงมักตกเป็นเครื่องมือของนายจ้างหรืออาศัยช่องว่างของธรรมเนียม
ปฏิบัติบางอย่างระหว่างนายจ้างกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำให้นายจ้างเข้าถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจได้โดยสะดวก
และรวดเร็ว
ค ปัจจัยด้านนโยบายของรัฐ
(๑) รัฐบาลดำเนินนโยบายเสรีทางการค้าโน้มเอียงไปในทางส่งเสริมธุรกิจและการประกอบการ
มากเกินไป ส่งผลให้นโยบายการคุ้มครองสิทธิแรงงานขาดความชัดเจน จริงจังและต่อเนื่อง รัฐบาลมี
ความกังวลว่าหากมีมาตรการการคุ้มครองแรงงานที่เข้มงวดเกินไป อาจกระทบต่อการจ้างงานหรือ
การส่งเสริมการลงทุน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีการเคลื่อนย้ายของทุนข้ามชาติอย่างเสรีมากขึ้น
เกิดการปรับตัวของธุรกิจในการจ้างงานที่ซับซ้อน ยืดหยุ่น และหลบหลีกความรับผิดชอบตาม
กฎหมายแรงงานของไทย จะเห็นได้ว่ารัฐบาลไม่มีนโยบายหรือมาตรการที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ
ในการคุ้มครองแรงงานอันสืบเนื่องจากการเปลี่ยนระบบการจ้างงานแต่อย่างใดเลย
(๒) รัฐบาลได้ประกาศแนวคิดในการจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยระดับประเทศ
และในระดับสถานประกอบกิจการ โดยมีการจัดตั้งองค์กรด้านความปลอดภัยในระดับประเทศ มีการ
จัดทำแผนงานและโครงการด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของประเทศ โดยเชื่อมโยงกับกติกา
ระหว่างประเทศ แต่ในทางปฏิบัติยังมีอุปสรรคหรือข้อจำกัดอีกมากมาย
(๓) รัฐบาลใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นหลักในการแก้ไขปัญหา ทำให้ลูกจ้างเข้าถึงสิทธิได้อย่าง
จำกัด และล่าช้า ทำให้เกิดการจำยอมเสียมากกว่า รัฐบาลไม่สร้างทางเลือกอื่นในการแก้ไขปัญหา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายที่ต้องพึ่งพาทางเศรษฐกิจจากนายจ้าง การแก้ไข
ข้อขัดแย้งที่เป็นปัญหาระบบการจ้างงาน หรือโครงสร้างการผลิตของประเทศ โดยเน้นหนักที่
กระบวนการยุติธรรมอาจไม่สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงของลูกจ้าง รัฐบาลมักจะผลักภาระให้ลูกจ้าง
เป็นผู้ฟ้องร้องดำเนินคดีทางศาลเอง ซึ่งฝ่ายลูกจ้างมีข้อจำกัดมากมาย
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๐๙
Master 2 anu .indd 109 7/28/08 9:00:30 PM