Page 108 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 108
๔
บทที่
พิจารณาอุทธรณ์ ขาดบทบาทในการกลั่นกรองหรือตรวจสอบการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในชั้นต้น
ยังไม่มีการปรับปรุงกระบวนการหรือขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมในเรื่องเงินทดแทน ให้มี
ประสิทธิภาพและรวดเร็ว ผู้ป่วยได้รับความเดือดร้อนทั้งในด้านการรักษาและการดำเนินชีวิตใน
ระหว่างใช้สิทธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายจ้างมักจะดำเนินคดีทางกฎหมายในเรื่องนี้จนถึงที่สุด จึงส่ง
ผลกระทบต่อลูกจ้างที่เจ็บป่วยและครอบครัวอย่างรุนแรง
(๔) ในประเด็นการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง
(๔.๑) การรวมตัวของลูกจ้างเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.
๒๕๑๘ แต่การคุ้มครองโดยกฎหมายยังไม่เป็นมาตรฐาน
เดียวกัน เช่น การลงโทษหรือเลิกจ้างกรรมการ ลูกจ้างต้อง
ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน แต่กรรมการสหภาพแรงงาน
หรือกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพ
แวดล้อมในการทำงาน (ทวิภาคี) ไม่ได้รับการคุ้มครองตาม
หลักการดังกล่าว
(๔.๒) กลไกทางกฎหมายในระหว่างการเจรจาต่อรอง
หรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือข้อขัดแย้งต่าง ๆ ใน
ระหว่างการเจรจาต่อรอง ยังขาดมาตรการเชิงรุก บางเรื่อง
กฎหมายมิได้ให้อำนาจไว้ บางเรื่องเจ้าหน้าที่ไม่กล้าหรือ
ไม่มั่นใจในการดำเนินการ และกลไกในการวินิจฉัยชี้ขาดเพื่อคุ้มครององค์กร การเจรจาต่อรองหรือม่มั่นใจในการดำเนินการ และกลไกในการวินิจฉัยชี้ขาดเพื่อคุ้มครององค์กร การเจรจาต่อรองหรือ
ไ
การใช้สิทธิของลูกจ้าง ยังขาดประสิทธิภาพและไม่ทันต่อเหตุการณ์
(๔.๓) ในการวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรม คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มักมี
ความเห็นว่าแม้ว่านายจ้างกระทำอันไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง แต่เนื่องจากลูกจ้างกับนายจ้างมี
ข้อขัดแย้งมากมาย ขัดแย้งเป็นเวลายาวนานจนความสัมพันธ์ร้าวฉาน แม้ว่าลูกจ้างใช้สิทธิตาม
กฎหมายหรือโดยสุจริตก็ตาม จึงมักกำหนดค่าเสียหายให้ลูกจ้างแทนการให้นายจ้างรับกลับเข้า
ทำงาน จึงกระทบต่อความมั่นคงในการทำงานของลูกจ้าง ทั้งที่ลูกจ้างต้องการทำงานต่อไป
(๔.๔) ในการแก้ไขปัญหาแรงงานสัมพันธ์ กระทรวงแรงงานมักจะชี้แจงว่า มีแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริม
การแรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งเป็นการเห็นชอบร่วมกันขององค์กรไตรภาคีและเป็น
เครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาแรงงานสัมพันธ์ แต่จากการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน พบว่าแนวปฏิบัติ
ดังกล่าวมีบทบาทน้อยมากในการส่งเสริม ป้องกัน หรือแก้ไขความขัดแย้งทางด้านแรงงานสัมพันธ์
(๔.๕) การปฏิบัติของเจ้าพนักงานอื่น เช่น เจ้าพนักงานตำรวจมักเข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องการ
รวมตัวและการเจรจาต่อรองของลูกจ้างมากเป็นพิเศษ เช่น ดำเนินคดีอาญาโดยเร่งรัด แนะนำให้
ลูกจ้างลาออกเพราะหากนายจ้างดำเนินคดีอาญาจะถูกจับกุมคุมขัง ต้องประกันตัวและจ้างทนาย
ความต่อสู้คดี ลูกจ้างจะได้รับความเดือดร้อนมาก
๑๐๘ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 108 7/28/08 9:00:28 PM