Page 107 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 107
การละเมิดสิทธิแรงงาน
คนทำงานภาคเอกชน
(๒.๒) ในการแก้ไขปัญหาของรัฐ ยังขาด
การบังคับใช้กฎหมายและการแก้ไขปัญหาที่มี
ประสิทธิภาพอย่างจริงจัง ขาดการบูรณาการ
เนื่องจากมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น
กองตรวจความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ
สภาพแวดล้อมในการทำงาน เจ้าพนักงาน
ท้องถิ่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวง
อุตสาหกรรม และสำนักมาตรฐานความ
ปลอดภัยในการเดินอากาศ กระทรวงคมนาคม
เป็นต้น แม้พบว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งมีโทษ
ทางอาญาด้วย เพราะเป็นการคุ้มครอง
สาธารณะ แต่ก็มิได้ลงโทษอย่างเด็ดขาดจริงจัง ทำให้การละเมิดยังดำรงอยู่ตลอดมา
สหภาพแรงงานจึงเป็นฝ่ายต้องร้องเรียนและฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ต้องเดินขบวนมา
ชุมนุมกันที่กระทรวงแรงงานและทำเนียบรัฐบาล เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริหารประเทศใส่ใจและเร่งหาทาง
ป้องกันหรือแก้ไขปัญหา
(๓) ในประเด็นการประกันสังคมและเงินทดแทน
(๓.๑) พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.
๒๕๓๗ ยังไม่ใช้บังคับกับลูกจ้างอีกหลายประเภทกิจการ อันเป็นการเลือกปฏิบัติหรือกีดกันแบ่งแยก
ลูกจ้าง ส่วนคนทำงานที่ไม่มีความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานยังไม่ได้รับหลักประกันตาม
กฎหมายฉบับนี้ หากคนกลุ่มนี้จะเข้าสู่หลักประกันสังคมตามกฎหมายนี้ จะต้องเป็นฝ่ายจ่ายเงิน
สมทบเองทั้งสิ้น
ในการบริหารกองทุนประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม ผู้ประกันตนและภาค
ประชาสังคมยังไม่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง กระทรวงแรงงานยังคงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการตัดสิน
ใจและกำหนดทิศทางนโยบาย ซึ่งภาคประชาชนร้องเรียนว่าการบริหารกฎหมายและกองทุนประกัน
สังคมไม่โปร่งใส มีการนำเงินกองทุนไปใช้จ่ายผิดวัตถุประสงค์ จนนำไปสู่การตรวจสอบซึ่งพบว่ามีมูล
ในส่วนของการแก้ไขกฎหมาย ว่าด้วยสถาบันความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม
ในการทำงานของกระทรวงแรงงาน ยังไม่ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของภาคประชาชนที่มีการระดม
ความคิดเห็นมาอย่างต่อเนื่องและยังแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักการร่างกฎหมายที่ทุกภาคส่วนเคย
จัดทำไว้แล้ว จนปัจจุบันยังมิได้แก้ไขกฎหมายในเรื่องนี้ให้ครอบคลุมคนทำงานในทุกสาขาอาชีพ และ
ภาคนอกระบบด้วย
(๓.๒) ระบบการจ้างเหมาค่าแรงและการจ้างเหมาช่วงเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการหลบเลี่ยง
กฎหมายทั้งสองฉบับ หรือนายจ้างได้ยักยอกเงินค่าจ้างที่หักไว้เพื่อนำส่งกองทุนประกันสังคมมากขึ้น
(๓.๓) ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและวินิจฉัยเรื่องเงินทดแทน ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
เจ้าหน้าที่ตีความกฎหมายแคบและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย คณะกรรมการในชั้น
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๐๗
Master 2 anu .indd 107 7/28/08 9:00:16 PM