Page 106 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 106
๔
บทที่
หลายสิบปีว่ากำลังเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอในการ
ตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมาย ถึงเวลาหรือ
ยังที่กระทรวงแรงงานจะส่งเสริมให้องค์กร
แรงงานหรือเครือข่ายภาคประชาชนมีส่วน
ร่วมในการตรวจและคุ้มครองแรงงาน
(๑.๒) ในประเด็นการเลิกจ้างลูกจ้างมี
ครรภ์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงาน
ตรวจแรงงานมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้าง
หญิงมีครรภ์กลับเข้าทำงานได้หรือไม่ ปรากฏ
ว่าในทางปฏิบัติพนักงานตรวจแรงงานหรือเจ้า
หน้าที่ด้านแรงงาน มักแนะนำให้ลูกจ้างมีครรภ์
ยื่นคำร้องตามแบบ คร.๗ ซึ่งเป็นแบบคำร้องเรียกเงิน เช่น ค่าชดเชย หรือค่าจ้าง ตามพระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ในขณะที่ลูกจ้างมิได้ต้องการค่าชดเชยแต่ต้องการกลับเข้าทำงาน
เจ้าหน้าที่เห็นว่าจะต้องฟ้องคดีต่อศาลแรงงานเท่านั้น
กลไกพนักงานตรวจแรงงานจึงไม่มีบทบาทในการคุ้มครองหรือแก้ไขปัญหาลูกจ้างมีครรภ์อย่างแท้จริง
(๑.๓) ในหลายกรณี เมื่อลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานได้ร้องเรียนความไม่เป็นธรรมต่อรัฐบาล
หรือกระทรวงแรงงาน ปรากฏว่า กระทรวงแรงงานมักจะชี้แจงให้ลูกจ้างไปดำเนินการตามขั้นตอนของ
กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมด้านแรงงาน เช่น การร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงาน
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หรือการฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน โดยไม่ดำเนินการในทางบริหารเพื่อ
เป็นมาตรการเสริมในการแก้ไขปัญหา ทำให้ปัญหาด้านแรงงานกระจุกตัวอยู่ในกระบวนการยุติธรรม
เป็นหลัก แต่ไม่มีการสร้างกลไกหรือคณะกรรมการในระดับจังหวัดที่มีความพร้อม หรือการบูรณาการ
หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนเพื่อคุ้มครองหรือแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานที่ยั่งยืน
(๒) ในประเด็นความปลอดภัยในการทำงาน
(๒.๑) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และประกาศกระทรวงแรงงานและ
สวัสดิการสังคม เรื่อง คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ (ทวิภาคี) ไว้หลายประการ เช่น (๑)
สำรวจสภาพความปลอดภัยในที่ทำงาน เดือนละ ๑ ครั้ง (๒) จัดทำรายงานและเสนอแนะมาตรการใน
การแก้ไขปัญหาให้ถูกต้องตามกฎหมาย (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัย (๔)
กำหนดระเบียบและมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน (๕) จัดทำนโยบาย แผนงานหรือ
โครงการประจำปีด้านความปลอดภัย ฯ เป็นต้น
แต่นายจ้างหลายรายยังไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยเฉพาะในกรณีที่นายจ้างมีความขัดแย้ง
กับสหภาพแรงงาน หรือถูกร้องเรียนว่าบริหารจัดการธุรกิจโดยไม่เป็นธรรม เช่น บริษัท แฟร์ เท็กซ์ไทล์
จำกัด บริษัท พีบี แอร์ จำกัด และบริษัท นากาตันไทย อุตสาหกรรม จำกัด (เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท
ยานากาว่า เทคโนฟอร์จ (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นต้น
๑๐๖ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 106 7/28/08 9:00:10 PM