Page 28 - มาตรฐานและการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ : คู่มือสิทธิมนุษยชน ฉบับขยายความ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 28

•   การคุมขังหรือการจำคุกเด็ก ถือเป็นมาตรการรุนแรงวิธีสุดท้ายเท่านั้น และระยะเวลาของการคุมขัง

                  ต้องสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
                •   เด็กจะต้องถูกแยกขังจากผู้ต้องขังผู้ใหญ่
                •   เด็กที่ถูกควบคุมตัว ต้องได้รับการเยี่ยมและได้รับการติดต่อจากสมาชิกในครอบครัว

                •   ต้องกำหนดอายุขั้นต่ำสำหรับความรับผิดทางอาญา
                •   ต้องจัดเตรียมการดำเนินการที่ไม่ใช่กระบวนการทางศาล และทางเลือกอื่นๆ นอกเหนือจากการดูแล

                  โดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
                •   ต้องเคารพความเป็นส่วนตัวของเด็ก และต้องเก็บรักษาข้อมูลอย่างครบถ้วน ปลอดภัย และเป็นความลับ
                •   ห้ามใช้เครื่องพันธนาการและใช้กำลังกับเด็ก จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้มาตรการควบคุมทั้งหมดที่มีอยู่แล้ว

                  แต่ล้มเหลว และควรใช้เวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
                •   ห้ามพกพาอาวุธในสถานคุมขังเด็กและเยาวชน

                •   ต้องให้ความเคารพต่อศักดิ์ศรีของเด็กในการฝึกฝนระเบียบวินัยและต้องปลูกฝังจิตสำนึกของเด็กในเรื่อง
                  ความยุติธรรม  ความเคารพตนเอง  และความเคารพในสิทธิมนุษยชน
                •   เจ้าพนักงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน จะต้องได้รับการฝึกอบรมเป็นพิเศษ และเป็นบุคคลที่

                  เหมาะสมกับงานนั้น
                •   ต้องมีผู้ตรวจการเพื่อตรวจเยี่ยมสถานคุมขังเด็กและเยาวชน โดยไม่บอกล่วงหน้าเป็นระยะๆ

                •   ผู้ปกครองต้องได้รับแจ้งให้ทราบถึงการจับกุม การคุมขัง การโยกย้าย ความเจ็บป่วย การบาดเจ็บ หรือ
                  การเสียชีวิต


                การปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน


           เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกคน

                •   เข้ารับการฝึกอบรมพิเศษในเรื่องการดูแลและปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพ

                  และมีมนุษยธรรม
                •   เข้าร่วมในโครงการการศึกษาสำหรับเด็ก เพื่อช่วยป้องกันการกระทำความผิดที่ก่อโดยเด็กและเยาวชน
                  และป้องกันเด็กและเยาวชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ

                •   ต้องรู้จักเด็กและผู้ปกครองของเด็กในพื้นที่ปฏิบัติงานของตน
                •   เฝ้าระวังสถานที่และผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมต่อเด็ก รวมทั้งการเข้าไปในสถานที่นั้นๆ

                  ของเด็ก หรือการติดต่อระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ดังกล่าว
                •   หากพบเห็นเด็กนอกโรงเรียนในเวลาเรียน ให้สอบสวน และแจ้งให้ผู้ปกครองของเด็กและผู้บริหาร
                  โรงเรียนทราบ

                •   ทำการสอบสวนในทันทีเมื่อพบกับการละเลยหรือการล่วงละเมิดต่อเด็กทั้งในบ้าน ในชุมชน หรือในอาคาร
                  สถานที่ของตำรวจ

                •   พบปะสนทนากับนักสังคมสงเคราะห์และบุคลากรทางการแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรึกษาหารือ
                  ในเรื่องของเด็กที่เกี่ยวข้องกับงานของตน







            26
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33