Page 24 - มาตรฐานและการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ : คู่มือสิทธิมนุษยชน ฉบับขยายความ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 24

•   หลีกเลี่ยงวิธีการกระตุ้นยั่วยุโดยไม่จำเป็น

                •   พัฒนาเทคนิคในการควบคุมฝูงชนที่จะทำให้ลดความจำเป็นในการใช้กำลัง
                •   เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะความชำนาญในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การป้องกันตัว
                  การใช้อุปกรณ์การป้องกันตัว การใช้เครื่องมือที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต การใช้อาวุธปืน พฤติกรรม

                  ฝูงชน การแก้ไขความขัดแย้ง และการจัดการกับความเครียดส่วนบุคคล
                •   เบิกรับและฝึกฝนการใช้โล่ เสื้อเกราะกันกระสุน หมวกนิรภัย และเครื่องมือที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต

                •   เบิกรับ ฝึกฝน ให้เป็นไปตามขั้นตอนในการใช้กำลังตามรูปแบบที่แตกต่าง รวมทั้งอาวุธเพื่อลดทอน
                  ความสามารถที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต
                •   ศึกษาและใช้เทคนิคในการจูงใจ  การไกล่เกลี่ย  และการเจรจา

                •   วางแผนล่วงหน้าสำหรับการใช้กำลังแบบค่อยเป็นค่อยไป จากเบาไปหาหนัก  โดยเริ่มต้นด้วยวิธีการที่ไม่ใช้
                  ความรุนแรง


           ผู้บังคับบัญชาและหัวหน้าหน่วยงาน

                •   ออกระเบียบปฏิบัติประจำที่ชัดเจนในเรื่องการให้ความเคารพต่อการชุมนุมอย่างเสรีที่เป็นไปโดยสงบ

                •   ให้คำแนะนำเรื่องการใช้ยุทธศาสตร์ตำรวจชุมชนและการเฝ้าสังเกตระดับของความตึงเครียดทางสังคม
                  ระหว่างกลุ่มต่างๆ และระหว่างกลุ่มกับเจ้าหน้าที่รัฐ
                •   สั่งให้เจ้าหน้าที่ใช้ความอดทนอดกลั้นต่อการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่เป็นไปโดยสงบปราศจาก

                  การข่มขู่ คุกคาม เพื่อไม่ทำให้สถานการณ์ลุกลามโดยไม่จำเป็น จุดมุ่งหมายสูงสุดที่จะต้องจดจำในการ
                  พัฒนายุทธวิธีในการควบคุมฝูงชนคือ การรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัย และเพื่อคุ้มครอง

                  สิทธิมนุษยชน มิใช่การบังคับใช้เทคนิคทางกฎหมายเกี่ยวกับการอนุญาตให้มีการชุมนุม หรือพฤติกรรม
                  มิชอบด้วยกฎหมายแต่ไม่ข่มขู่คุกคาม
                •   จัดทำและบังคับใช้ระเบียบปฏิบัติงานประจำที่ชัดเจนในเรื่องการใช้กำลังและอาวุธปืน

                •   จัดให้มีการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอในเรื่อง : การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การป้องกันตัว การใช้อุปกรณ์
                  การป้องกันตัว การใช้อาวุธที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต การใช้อาวุธปืน พฤติกรรมฝูงชน การแก้ไข

                  ความขัดแย้ง การบริหารจัดการความเครียด การจูงใจ การไกล่เกลี่ย และการเจรจา
                •   จัดหาและแจกจ่ายอุปกรณ์การป้องกันตัว ซึ่งหมายรวมถึง หมวกนิรภัย โล่ เสื้อเกราะกันกระสุน
                  หน้ากากป้องกันไอพิษ และรถกันกระสุน

                •   จัดหาและแจกจ่ายเครื่องมือเพื่อลดทอนความสามารถและสลายฝูงชนที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต
                •   กำหนดมาตรการการใช้กำลังในรูปแบบต่างๆ ที่ครอบคลุมและยืดหยุ่น

                •   จัดทำแนวทางการรายงานที่ชัดเจน สำหรับทุกๆ เหตุการณ์ที่มีการใช้กำลังหรือใช้อาวุธปืน
                •   บังคับใช้กฎระเบียบอย่างเคร่งครัดในเรื่องการควบคุม การเก็บรักษา และการแจกจ่ายอาวุธปืน รวมถึง
                  วิธีปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่า เจ้าหน้าที่มีความรับผิดชอบต่ออาวุธและเครื่องกระสุนที่แจกจ่ายไป

                •   ห้ามใช้อาวุธและเครื่องกระสุน ที่จะทำให้เกิดการบาดเจ็บ ความเสียหาย หรือความเสี่ยงโดยไม่มีเหตุอันควร
                •   พัฒนายุทธศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยงในการที่เจ้าหน้าที่จะถูกบีบบังคับให้ใช้อาวุธปืน









            22
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29