Page 31 - มาตรฐานและการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ : คู่มือสิทธิมนุษยชน ฉบับขยายความ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 31
การปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน
เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกคน
• ปฏิบัติต่อการใช้ความรุนแรงในครอบครัวเช่นเดียวกับความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
• ดำเนินการทันทีเมื่อได้รับแจ้งเหตุการใช้ความรุนแรงในครอบครัว และการกระทำรุนแรงทางเพศ โดย
แจ้งให้ผู้เสียหายทราบถึงการช่วยเหลือสนับสนุนทั้งด้านการแพทย์ ด้านสังคม ด้านจิตวิทยา และทาง
วัตถุ รวมถึงการ ส่งตัวไปยังสถานที่ที่ปลอดภัย
• ดำเนินการสืบสวนสอบสวนคดีการใช้ความรุนแรงในครอบครัวอย่างละเอียดรอบคอบและอย่างมืออาชีพ
สอบปากคำผู้เสียหาย พยาน เพื่อนบ้าน และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
• เตรียมรายงานที่มีรายละเอียดของเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงในครอบครัว และเอาใจใส่ติดตาม ทั้งจาก
ผู้บังคับบัญชาและผู้เสียหาย ตรวจสอบรายงานเทียบกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในแฟ้มคดี และดำเนินการ
ในสิ่งที่จำเป็นทุกประการเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำขึ้นอีก
• หลังจากดำเนินการทางด้านการแพทย์ ด้านธุรการ และด้านอื่นๆ สมบูรณ์แล้ว ควรให้ความช่วยเหลือพา
ผู้ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัวไปเก็บสิ่งของส่วนตัวที่บ้านเพื่อพาไปยังสถานที่ที่ปลอดภัย
• เข้ารับการฝึกอบรมในการพัฒนาทักษะด้านการให้ความช่วยเหลือ และการคุ้มครองผู้เสียหายจากการใช้
ความรุนแรงในครอบครัว
• ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ และหน่วยงานด้านสังคม ในการดำเนินคดีการใช้ความรุนแรง
ในครอบครัว
• จัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้หญิงอยู่ด้วยทุกครั้งในระหว่างการติดต่อกับผู้หญิงที่กระทำความผิด ผู้หญิงที่เป็น
เหยื่ออาชญากรรม ให้เจ้าหน้าที่ผู้หญิงเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมดเท่าที่เป็นไปได้
• แยกผู้ต้องขังหญิงออกจากผู้ต้องขังชาย ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้หญิงเป็นผู้ควบคุมดูแล และทำการตรวจค้น
ผู้ต้องขังหญิง
• เจ้าหน้าที่ผู้ชายควรละเว้น และไม่ส่งเสริมการพูดคุยและเล่าเรื่องตลก ซึ่งเป็นการไม่ให้เกียรติผู้หญิงกับ
เพื่อนร่วมงานผู้ชาย
• ถามเพื่อนร่วมงานผู้หญิงถึงความรู้สึก และการรับรู้ในเรื่องนโยบาย การปฏิบัติ พฤติกรรม หรือทัศนคติ
ที่เป็นเรื่องเฉพาะเพศ โดยเริ่มต้นปรับปรุงตนเองก่อน และสนับสนุนเพื่อนร่วมงานในการพยายามทำ
เช่นนั้นด้วย
ผู้บังคับบัญชาและหัวหน้าหน่วยงาน
• ออกคำสั่งและบังคับใช้ระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจนในเรื่องการปฏิบัติการอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิผล
เมื่อรับแจ้งเหตุ การใช้ความรุนแรงในครอบครัว และดำเนินการตามกฎหมายเทียบเท่าการทำร้ายร่างกาย
ในรูปแบบอื่นๆ
• จัดให้มีการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอแก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการจัดการปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิง
• จัดตั้งหน่วยตำรวจพิเศษ เพื่อรับแจ้งเหตุ การใช้ความรุนแรงในครอบครัว และพิจารณามอบหมายให้
นักสังคมสงเคราะห์มาปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในหน่วยที่ตั้งขึ้นนั้น
29