Page 30 - มาตรฐานและการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ : คู่มือสิทธิมนุษยชน ฉบับขยายความ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 30
สิทธิมนุษยชนของผู้หญิง
มาตรฐานสิทธิมนุษยชน
• ผู้หญิงย่อมเสมอภาคและได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทุกด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรม สิทธิพลเมือง และสิทธิอื่นๆ
• สิทธิเหล่านี้ประกอบด้วย สิทธิในชีวิต ความเสมอภาค เสรีภาพและความปลอดภัยส่วนบุคคล การได้รับ
ความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ การได้รับการดูแลสุขภาพทั้งทางร่างกายและ
จิตใจในมาตรฐานสูงสุด สภาพการทำงานที่ยุติธรรมและเกื้อกูล และไม่ถูกทรมาน การปฏิบัติ หรือ
การลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือลดทอนย่ำยีศักดิ์ศรี รวมทั้งสิทธิอื่นๆ
• ความรุนแรงต่อผู้หญิงอาจเป็นการกระทำใดๆ เกี่ยวกับทางร่างกาย ทางเพศ หรือทางจิตใจ รวมทั้ง
การทุบตี การล่วงละเมิดทางเพศ ความรุนแรงที่เกิดจากการพิพาทในเรื่องสินสอด การข่มขืนคู่สมรส
ประเพณีปฏิบัติที่เป็นอันตราย การข่มขืนและกระทำรุนแรงโดยบุคคลที่ไม่ใช่คู่สมรส การคุกคามทางเพศ
การบังคับค้าประเวณี การลักลอบค้าหญิง และการกระทำรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับการแสวงผลประโยชน์
• การใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงทุกรูปแบบ เป็นการละเมิด ทำให้เสื่อมเสีย หรือเป็นปฏิปักษ์ต่อสิทธิมนุษยชน
และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
• เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องใช้ความความระมัดระวังอันสมควรในการป้องกัน สืบสวน สอบสวน และจับกุม
สำหรับการกระทำรุนแรงทั้งปวงต่อผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นการกระทำความผิดโดยเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคล
ทั่วไป ทั้งในบ้าน ชุมชน หรือสถานที่ราชการ
• เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็งในการป้องกันผู้หญิงจากการตกเป็นเหยื่อ และต้องสร้าง
ความมั่นใจว่า การตกเป็นเหยื่อซ้ำจะต้องไม่เกิดขึ้น เนื่องจากการละเว้นของเจ้าหน้าที่ หรือจากการ
บังคับใช้กฎหมายที่ไม่คำนึงถึงความละเอียดอ่อนทางเพศ
• การใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงเป็นอาชญากรรม และต้องได้รับการปฏิบัติในฐานะอาชญากรรม รวมถึง
ความรุนแรงในครอบครัว
• ผู้หญิงที่ถูกจับกุมหรือคุมขัง ต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และต้องได้รับการคุ้มครองจากความรุนแรง หรือจาก
การถูกแสวงประโยชน์ในทุกรูปแบบ
• ผู้ต้องขังหญิงต้องได้รับการควบคุมดูแลและถูกตรวจค้นโดยเจ้าหน้าที่และพนักงานที่เป็นผู้หญิง
• ผู้ต้องขังหญิงจะต้องถูกคุมขังแยกต่างหากจากผู้ต้องขังชาย
• ผู้หญิงมีครรภ์และผู้หญิงที่มีลูกอ่อนต้องได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเป็นพิเศษในสถานคุมขัง
• หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง ในการรับเข้าทำงาน การจ้างงาน การฝึกอบรม
การมอบหมายงาน การส่งเสริมความก้าวหน้า เงินเดือน หรือเรื่องเกี่ยวกับอาชีพและการบริหารอื่นๆ
• หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ควรรับผู้หญิงเข้าทำงานในสัดส่วนที่เป็นธรรม เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิของ
ผู้ต้องสงสัย ผู้ที่ถูกจับกุม และผู้ต้องขังที่เป็นผู้หญิง
28