Page 26 - มาตรฐานและการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ : คู่มือสิทธิมนุษยชน ฉบับขยายความ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 26
♦ การทำโทษด้วยการทำร้ายร่างกาย
♦ การทำให้เสียอวัยวะ
♦ การย่ำยีศักดิ์ศรีของบุคคล รวมทั้งการข่มขืน
♦ การจับเป็นตัวประกัน
♦ การทำโทษแบบเหมารวม
♦ การประหารชีวิตโดยไม่มีการพิจารณาคดีตามปกติ
♦ การปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือลดทอนย่ำยีศักดิ์ศรี
• การแก้แค้นต่อผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วย ผู้ที่เรืออับปาง บุคลากรทางการแพทย์ และบุคลากรทหารทางการแพทย์
เชลยศึก พลเรือน วัตถุทางวัฒนธรรม และวัตถุทางพลเรือน สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และสถานที่ต่างๆ
ที่มีพลังอันเป็นอันตราย จะกระทำมิได้
• บุคคลย่อมไม่สละหรือถูกบังคับให้สละซึ่งการได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายมนุษยธรรม
• บุคคลภายใต้การคุ้มครอง จะต้องสามารถไปพึ่งพิงอำนาจที่ให้การคุ้มครอง (รัฐเป็นกลางที่คุ้มครอง
ผลประโยชน์ของบุคคลเหล่านั้น) หรือคณะกรรมการกาชาดสากล (ICRC) หรือองค์กรด้านมนุษยธรรมอื่นใด
ที่เป็นกลางได้ตลอดเวลา
การปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน
เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายพลเรือนทุกคน
• เข้ารับการฝึกอบรมในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และกฎหมายมนุษยธรรม ในห้วงเวลาของความขัดแย้ง
ที่มีการใช้กำลังอาวุธ
• เข้ารับการฝึกอบรมในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การจัดการภัยพิบัติ และวิธีดำเนินการป้องกันภัย
ฝ่ายพลเรือน
• เรียนรู้ยุทธศาสตร์ของหน่วยงานเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย และการคุ้มครองพลเรือน ในห้วงเวลา
ที่เกิดความขัดแย้ง
• ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ พนักงานดับเพลิง เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน และทหาร
• ให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อความต้องการเฉพาะของกลุ่มเสี่ยง รวมถึงผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่น เด็ก และผู้ได้รับ
บาดเจ็บ ในห้วงเวลาที่เกิดความขัดแย้ง
ผู้บังคับบัญชาและหัวหน้าหน่วยงานของตำรวจฝ่ายพลเรือน
• จัดให้มีการฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ทุกคน ในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และกฎหมายมนุษยธรรม ในห้วงเวลา
ของความขัดแย้งที่มีการใช้กำลังอาวุธ
• จัดให้มีการฝึกอบรมในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การจัดการภัยพิบัติ และวิธีดำเนินการป้องกันภัย
ฝ่ายพลเรือน
• พัฒนายุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อย และให้การคุ้มครองพลเรือน ในห้วงเวลา
ที่เกิดความขัดแย้ง
24