Page 33 - มาตรฐานและการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ : คู่มือสิทธิมนุษยชน ฉบับขยายความ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 33
• ผู้ลี้ภัยที่ตรงมาจากประเทศที่กดขี่ข่มเหง ต้องไม่ถูกปฏิเสธการเข้าเมืองแบบชั่วคราว
• ผู้ลี้ภัยที่พำนักอาศัยอยู่ในเขตดินแดนของรัฐอย่างถูกกฎหมาย ย่อมมีสิทธิและมีเสรีภาพในการเคลื่อนย้าย
และถิ่นพำนักอาศัย
• ผู้ลี้ภัยที่พำนักอาศัยอยู่ในเขตดินแดนของรัฐอย่างถูกกฎหมาย ต้องได้รับอนุญาตให้มีเอกสารเพื่อ
การเดินทาง และเอกสารเพื่อการแสดงตน
• บุคคลผู้แสวงหาที่หลบภัย ต้องได้รับการแจ้งให้ทราบถึงขั้นตอนการดำเนินการที่จำเป็น และได้รับ
การอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต่อการดำเนินการดังกล่าว และต้องได้รับการอนุญาตให้ยังคงพำนัก
อาศัยอยู่ได้ในระหว่างรอคำตัดสินถึงที่สุด
• ผู้ลี้ภัยไม่ว่าบุคคลใดต้องไม่ถูกขับไล่ออกนอกประเทศ ยกเว้นเพราะเหตุจำเป็นอันเกี่ยวกับความมั่นคง
ของชาติ หรือเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม ทั้งนี้ ต้องเป็นการวินิจฉัยโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
• ก่อนการขับไล่ออกนอกประเทศ ผู้ลี้ภัยจะต้องได้รับโอกาสยื่นพยานหลักฐาน มีตัวแทน และสามารถ
อุทธรณ์ต่อหน่วยงานราชการในระดับสูงขึ้นไป
บุคคลไร้สัญชาติ
• บุคคลซึ่งไม่ใช่คนชาติ หมายรวมถึง ชาวต่างชาติ และบุคคลผู้ไร้รัฐ
• บุคคลซึ่งไม่ใช่คนชาติสามารถพำนักอาศัยอย่างถูกกฎหมายภายในเขตดินแดน หากบุคคลเหล่านั้นเข้าเมือง
โดยถูกกฎหมาย ตามระบบกฎหมาย หรือใบอนุญาตในการพำนักอาศัยของบุคคลเหล่านั้นยังไม่หมดอายุ
• บุคคลซึ่งไม่ใช่คนชาติที่พำนักอาศัยอย่างถูกกฎหมายภายในเขตดินแดน ย่อมได้รับการคุ้มครองตาม
หลักสิทธิมนุษยชนในทุกประการ ยกเว้นสิทธิทางการเมืองบางประการ
• บุคคลซึ่งไม่ใช่คนชาติย่อมมีสิทธิในการเดินทางออกนอกประเทศและอพยพย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศอื่น
เช่นเดียวกับคนของชาตินั้น
• บุคคลซึ่งไม่ใช่คนชาติที่พำนักอาศัยอย่างถูกกฎหมายภายในเขตดินแดน ซึ่งมีความรู้สึกผูกพันใกล้ชิดกับรัฐ
เสมือนเป็นรัฐของตน (บุคคลซึ่งลงหลักปักฐานครัวเรือน บุคคลที่ถือกำเนิดภายในรัฐ หรือพำนักอาศัย
อยู่ในรัฐมาเป็นเวลายาวนาน) ต้องไม่ถูกขับไล่ออกนอกประเทศ
• บุคคลซึ่งไม่ใช่คนชาติอื่นใดที่พำนักอาศัยอย่างถูกกฎหมายภายในเขตดินแดน อาจถูกขับไล่ออกนอก
ประเทศได้ ถ้าการตัดสินนั้นเป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมาย ไม่เลือกปฏิบัติ และมีหลักประกันด้าน
กระบวนการนั้น
• กระบวนการที่มีหลักประกันในวิธีดำเนินการขับออกนอกประเทศ หมายรวมถึง สิทธิที่จะได้รับการรับฟัง
สิทธิในการได้รับการพิจารณาทบทวนจากเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ สิทธิในการมีตัวแทน สิทธิในการอุทธรณ์ต่อ
หน่วยงานราชการในระดับสูงขึ้นไป สิทธิในการมีเครื่องมืออย่างครบถ้วน เพื่อได้มาซึ่งการแก้ไขเยียวยา
สิทธิในการยังคงอยู่พำนักอาศัยในระหว่างการอุทธรณ์ และสิทธิในการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ไข
เยียวยา
• กระบวนการที่มีหลักประกันบางประการอาจได้รับการยกเว้นเมื่อมีเหตุผลความจำเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับ
ความมั่นคงปลอดภัยของชาติ เช่น การเป็นภัยคุกคามทางการเมือง หรือทางการทหารต่อประเทศชาติ
โดยรวมเท่านั้น
• การขับไล่ออกนอกประเทศเป็นหมู่คณะหรือเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถกระทำได้
31