Page 5 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 5
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
บทน า
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๔๗ (๓) และ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา
๒๖ (๓) ก าหนดให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่และอ านาจในการเสนอแนะมาตรการหรือ
แนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ
หรือค าสั่งใด ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ส าหรับประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนเล่มนี้ ได้รวบรวม
ข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
และข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุง
กฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ที่จัดท าขึ้นระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม
๒๕๖๐ จ านวน ๓ เรื่อง ดังนี้
เรื่องที่ ๑
ร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ...
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในคราวประชุมด้านการบริหาร ครั้งที่ ๔๑/๒๕๕๙
เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
ภาครัฐ พ.ศ. .... และพบประเด็นด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั้งในแง่ที่เป็นหลักการทั่วไปว่าด้วยการ
จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐ และในแง่ของบทก าหนดโทษ จึงเห็นควรให้มีการ
เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ (๓) และมีมติมอบหมาย
ให้คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นผู้ด าเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ....
มาตรา ๗ วรรคสาม ก าหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้หน่วยงานของ
รัฐจัดให้มีกฎหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุตามหลักเกณฑ์และแนวทางของ
พระราชบัญญัตินี้ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักการในเรื่องความคุ้มค่า โปร่งใส มีสิทธิภาพและประสิทธิผล และ
ตรวจสอบได้ และมาตรา ๘ ที่ก าหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐต้อง
ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐ และต้องสอดคล้องกับหลักการคุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล และตรวจสอบได้ เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการวางหลักการทั่วไป
๑