Page 48 - ประมวลความเห็นทางกฎหมาย ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2560
P. 48
๔๖
สงเคราะหของรัฐหรือเอกชน ศาลยุติธรรม หนวยงานฝายบริหาร หรือองคกรนิติบัญญัติ ผลประโยชนของ
เด็กเปนสิ่งที่ตองคํานึงอันดับแรก” ขอ ๔๐ วรรคแรก กําหนดวา “การปฏิบัติตอเด็กจะตองเคารพตอ
ศักดิ์ศรีและคุณคาของเด็ก ฯลฯ คํานึงถึงอายุของเด็ก และการนําเด็กกลับคืนสูสังคม (reintegration)”
นอกจากนี้ยังสอดคลองกับกฎอันเปนมาตรฐานขั้นต่ําของสหประชาชาติวาดวยการบริหารงานยุติธรรม
สําหรับคดีเด็กและเยาวชน (The Beijing Rules) ขอ ๒๑ ดังที่กลาวแลวขางตน และขอ ๘ ของกฎ
ฉบับเดียวกัน ซึ่งกําหนดวา “ในทุกขั้นตอนจะตองเคารพสิทธิสวนตัวของเด็กและเยาวชน เพื่อหลีกเลี่ยง
ความเสียหายที่จะเกิดแกเด็กและเยาวชน อันเนื่องจากการเผยแพรขาวอยางไมถูกตอง หรือจากกระบวนการ
ตราบาป ตามหลักการจะตองไมเผยแพรขาวที่อาจทําใหสามารถรูตัวผูกระทําผิดที่เปนเด็กและเยาวชน” ]
อยางไรก็ตาม ผูแทนสํานักงานอัยการสูงสุดไดใหขอมูลเพิ่มเติมวา ทะเบียนประวัติ
การกระทําความผิดของเด็กและเยาวชนนั้น ไมสามารถนําไปประกอบคํารองขอใหศาลในคดีหลังเพิ่มโทษ
หรือบวกโทษในคดีที่ผูกระทําผิดกระทําในขณะเปนเด็กและเยาวชนได เวนแตเปนการใชประกอบดุลพินิจ
ของศาลเพื่อกําหนดวิธีการสําหรับเด็กและเยาวชน ตามมาตรา ๘๔ แหงพระราชบัญญัติศาลเยาวชน
และครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓
นอกจากนี้ กรมพินิจและคุมครองเด็กและเยาวชนและสํานักงานตํารวจแหงชาติใหขอมูล
เพิ่มเติมดวยวา ขอมูลประวัติการกระทําผิดของเด็กและเยาวชนจะไมสามารถนําไปเปนโทษแกเด็ก
และเยาวชนได ไมวาจะเปนการนําไปใชในทางคดีหรือการขอขอมูลเพื่อประกอบการรับสมัครงาน เนื่องจาก
เปนขอมูลสวนบุคคลที่เปนความลับ และเห็นวาตามรางมาตรา ๕๕ (๔) นั้น กําหนดใหสถานพินิจฯ
หรือศูนยฝกและอบรมจัดสงประวัติเด็กและเยาวชนไปยังสํานักงานตํารวจแหงชาติเพื่อลบทะเบียนประวัติ
ซึ่งเปนประโยชนแกเด็กและเยาวชน จึงเห็นควรระบุใหชัดเจนในรางพระราชบัญญัติดังกลาวดวย
สํานักกฎหมายและคดี
มิถุนายน ๒๕๖๐