Page 43 - ประมวลความเห็นทางกฎหมาย ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2560
P. 43

๔๑



                                     2.2 ความเห็นเกี่ยวกับการแกไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคนเขาเมือง พ.ศ. 2522

                                     คณะอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                       ชุดที่ 2 ไดศึกษาและจัดทําขอเสนอแนะในการปรับปรุงแกไขพระราชบัญญัติคนเขาเมือง พ.ศ. 2522
                       ใหสอดคลองกับพันธกรณีระหวางประเทศ หลักการคุมครองสิทธิมนุษยชนระดับสากล และบริบททางสังคม

                       ที่เปลี่ยนแปลงกาวสูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งมีความเห็นวาควรแกไขพระราชบัญญัติคนเขาเมือง
                       พ.ศ. 2522 มาตรา 4 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 13 มาตรา 34 และมาตรา 35 โดยควรเพิ่มนิยาม
                       คําวา ผูลี้ภัย ใหคณะกรรมการพิจารณาคนเขาเมืองตามพระราชบัญญัตินี้สามารถพิจารณาสถานะผูลี้ภัย

                       ตามหลักเกณฑที่กําหนดไวและเพิ่มเติมใหผูลี้ภัยสามารถไดรับการยกเวนไมตองมีหนังสือเดินทาง
                       รายละเอียดตามเอกสารแนบทาย

                       3. ขอเสนอแนะ

                                     การดําเนินงานเกี่ยวกับคนตางดาวอาจเกิดปญหาและอุปสรรคอันเนื่องมาจากบทบัญญัติ
                       แหงกฎหมายที่ไมครอบคลุมและไมชัดเจน ปญหาจากการบังคับใชกฎหมายของพนักงานเจาหนาที่ และ
                       การใหความชวยเหลือแกคนตางดาวในเชิงมนุษยธรรมเนื่องจากรัฐไมไดเปนภาคีในพันธกรณีระหวางประเทศ

                       ที่เกี่ยวกับผูลี้ภัย อาจทําใหกลุมคนตางดาวบางกลุมที่เขามาในราชอาณาจักรไทยไมไดรับความคุมครอง
                       ตามกฎหมายวาดวยคนเขาเมืองและเสี่ยงตอการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน แตดวยเหตุที่เขาเหลานั้นเกิดมา
                       พรอมกับความเปนมนุษย เขาเหลานั้นจึงมีคุณคาของความเปนมนุษยเทาเทียมกับมนุษยคนอื่นๆ และยอม
                       ดํารงอยูอยางมีศักดิ์ศรีของความเปนมนุษยเหมือนกัน ไมวาจะมีเหลากําเนิด เชื้อชาติ สัญชาติ การนับถือ

                       ศาสนา เพศ หรือความคิดเห็นทางการเมือง แตกตางเปนประการใด และเขาเหลานั้นยอมจะตองไดรับ
                       การปกปองคุมครองสิทธิมนุษยชนเพราะเหตุที่เขาเกิดมาเปนมนุษยเชนเดียวกันกับมนุษยคนอื่นๆ ดังนั้น
                       คนตางดาวเขาเมืองไมวาในกรณีใด เชน ผูลี้ภัย คนพลัดถิ่น ผูอพยพ ผูโยกยายถิ่นฐาน ก็ยอมที่จะไดรับ
                       การปกปองคุมครองสิทธิมนุษยชนเชนเดียวกันกับคนชาติหรือพลเมืองของรัฐนั้น เมื่อคนชาติหรือพลเมือง

                       ของรัฐไดรับการปกปองคุมครองไมวาจะเปนสิทธิในชีวิต รางกาย สิทธิที่จะมีชีวิตอยู เสรีภาพในการเลือก
                       ถิ่นที่อยู เสรีภาพในการเดินทาง สิทธิในการไมถูกเลือกปฏิบัติ สิทธิเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนา
                       สิทธิในการเขาถึงกระบวนการยุติธรรม สิทธิในการมีเอกสารแสดงตน สิทธิในการศึกษา สิทธิในการไดรับ

                       บริการสาธารณสุข และสิทธิในการทํางาน เปนตน คนตางดาวเขาเมืองเหลานั้นก็ควรจะตองไดรับการปกปอง
                       คุมครองสิทธิและเสรีภาพในประการตางๆ ที่กลาวมานั้น แมวาระดับของการใหความคุมครองอาจจะ
                       แตกตางไปจากพลเมืองของรัฐ ทั้งนี้ เพื่อใหเขาดํารงอยูไดอยางมีศักดิ์ศรีของความเปนมนุษย

                                     ทั้งนี้ จากปญหาและอุปสรรคขางตนประกอบกับเหตุผลและความจําเปนในการคุมครอง
                       สิทธิมนุษยชนเพื่อใหคนตางดาวสามารถดํารงอยูอยางมีศักดิ์ศรีความเปนมนุษย มีขอเสนอแนะ ดังนี้

                                     1) ควรแกไขปรับปรุงพระราชบัญญัติคนเขาเมือง พ.ศ. 2522 ใหครอบคลุมคนตางดาว
                       เขาเมืองบางประเภทที่ยังไมไดรับความคุมครองตามกฎหมาย เนื่องจากกลุมคนตางดาวบางประเภท

                       มีความจําเปนตองเขามาในราชอาณาจักรในลักษณะที่ตองการความชวยเหลือเปนพิเศษหรือมีเหตุผล
                       พิเศษเฉพาะ เชน ผูลี้ภัย คนพลัดถิ่น ผูอพยพ หรือผูโยกยายถิ่นฐาน ทั้งนี้ เพื่อขจัดปญหาการละเมิด
                       สิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นจากการบังคับใชกฎหมายของพนักงานเจาหนาที่
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48