Page 32 - ประมวลความเห็นทางกฎหมาย ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2560
P. 32
๓๐
๒.๒ ความเห็นในมิติสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับบทบัญญัติใน “รางพระราชบัญญัติแกไข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
โดยรวมเห็นวารางกฎหมายฉบับนี้ไดแกไขใหสอดคลองกับหลักเกณฑสิทธิมนุษยชน
ที่เกี่ยวของ โดยเฉพาะตามอนุสัญญาวาดวยสิทธิเด็กมากขึ้น อยางไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่เปนขอสังเกต ดังนี้
1. การกําหนดอายุขั้นต่ําในการรับผิดทางอาญาของเด็กจาก ๑๐ ป เปน ๑๒ ป
ตามมาตรา ๗๓ นั้น จะตองปรับแกกฎหมายที่เชื่อมโยงกับเรื่องนี้ทั้งหมดในประมวลกฎหมายอาญาเพื่อให
สอดคลองกัน โดยเฉพาะมาตรา ๓๒๐/๑ วรรคสี่ มาตรา ๓๒๐/๓ ที่แกไขในครั้งนี้ รวมทั้งกฎหมายอื่น
ที่เกี่ยวของทั้งในระดับพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง อีกทั้ง ตองทําความเขาใจกับสังคมวากฎหมายไมได
มีวัตถุประสงคเพื่อลงโทษเด็กที่กระทําการอันกฎหมายบัญญัติเปนความผิด แตเพื่อคุมครองดูแลเด็กใหมี
โอกาสปรับปรุงแกไขตนเองใหเปนผูใหญที่ไมเปนภาระของสังคมในอนาคตตอไป
๒. การกําหนดฐานความผิดซื้อขายเด็กและลักพาเด็ก มาตรา ๓๒๐/๑ มาตรา ๓๒๐/๒
และมาตรา ๓๒๐/๓ เห็นวา
๒.๑) ควรนําความผิดฐาน “ขายเด็ก”ตามมาตรา ๓๒๐/๑ วรรคหนึ่ง ความผิดฐาน
“ซื้อเด็ก” ตามมาตรา ๓๒๐/๑ วรรคสอง ความผิดฐานเปน “คนกลาง”ตามมาตรา ๓๒๐/๑ วรรคสาม และ
ความผิดฐาน “ลักพาเด็ก” ตามมาตรา ๓๒๐/๓ มารวมอยูในมาตราเดียวกัน แลวกําหนดเหตุบรรเทาโทษ
ตามมาตรา ๓๒๐/๑ วรรคหา และบทหนักตามมาตรา ๓๒๐/๑ วรรคสี่ และมาตรา ๓๒๐/๒ ใหครอบคลุม
ทุกฐานความผิดขางตน
๒.๒) ฐานความผิด “ขายเด็ก” ตามมาตรา ๓๒๐/๑ที่บัญญัติวา “ผูใดมอบบุตร
หรือผูอยูในความปกครองดูแลของตนซึ่งมีอายุไมเกินสิบหาป ไมวาเด็กนั้นจะยินยอมหรือไมก็ตามใหแก
ผูอื่น เพื่อแลกกับเงินหรือประโยชนตอบแทนอื่นใด สําหรับตนเองหรือผูอื่น ...” อาจมีปญหาในการตีความ
วาการกระทําอยางไรจึงจะเรียกวาเปนการขายเด็กหรือมอบใหไป ควรแกไขถอยคําใหมีความชัดเจนขึ้น
เพื่อผูปฏิบัติไมตองตีความใหแตกตางกันซึ่งอาจกระทบตอสิทธิของผูเสียหายและสิทธิของผูถูกกลาวหาได
อีกทั้ง เมื่อพิจารณาองคประกอบของกฎหมายอาจยังไมเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยอยูบาง เชน กรณี
พอแมยากจน สงลูกไปใหนาเลี้ยงโดยนาใหเงินพอกับแมดวย จะเขาองคประกอบความผิดซื้อขายเด็กได
จึงควรทบทวนบทบัญญัติมาตรา ๓๒๐/๑ ใหมีความชัดเจน รัดกุม และพิจารณาผลกระทบตอเด็ก
อยางรอบคอบกอน
๓. การกําหนดเพิ่มอายุความในกรณีความผิดเกี่ยวกับเพศ มาตรา ๙๕/๑ ซึ่งกําหนดให
อายุความสะดุดหยุดอยูจนกวาผูเสียหายจะบรรลุนิติภาวะ ควรบัญญัติในบทเฉพาะกาลวาสามารถ
นําหลักการนี้ยอนหลังไปใชกับการกระทําความผิดที่เกิดขึ้นกอนกฎหมายนี้จะมีผลบังคับไดเพื่อไมใหเกิด
การตีความและคุมครองประโยชนสูงสุดแกเด็กและบัญญัติใหชัดเจนวาการบรรลุนิติภาวะหมายถึง
การมีอายุครบ ๒๐ ปบริบูรณ หรือการบรรลุนิติภาวะโดยการสมรส หรือทั้งสองกรณี
สํานักกฎหมายและคดี
เมษายน ๒๕๖๐