Page 28 - ประมวลความเห็นทางกฎหมาย ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2560
P. 28
๒๖
ประเทศฝรั่งเศส เหตุยกเวนโทษเนื่องจากผูกระทําผิดไมมีความรูสึกผิดชอบ หรือ
สติปญญายังไมสมบูรณมีการกําหนดใหเด็กที่อายุไมเกิน 13 ป ไมตองรับโทษทางอาญา 20
ประเทศแคนาดา ไดกําหนดความรับผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน โดยถือเกณฑอายุ
ขณะกระทําความผิด คือมีอายุตั้งแต 12 ปขึ้นไป 21
อยางไรก็ตาม การกําหนดอายุขั้นต่ําในการรับผิดทางอาญาของเด็กจาก ๑๐ ป เปน ๑๒
ป ตามมาตรา ๗๓ นั้น จะตองปรับแกกฎหมายที่เชื่อมโยงกับเรื่องนี้ทั้งหมด อีกทั้ง สถานพินิจตองเพิ่ม
ขีดความสามารถในการบริหารจัดการการบําบัดฟนฟูเด็กเหลานี้ใหมีประสิทธิภาพ สามารถแยกการดูแลเด็ก
ที่มีอายุตางกันมากๆ (แยกเด็กเล็ก-เด็กโต) ซึ่งการจัดใหเด็กที่มีอายุตางกันอยูดวยกันจะเกิดการเลียนแบบ
พฤติกรรมที่ไมดีระหวางกันได
ประเด็นที่ ๒ เพิ่มฐานความผิดซื้อขายเด็กและฐานความผิดลักพาเด็ก (มาตรา ๓๒๐/๑
– ๓๒๐/๓)
“ปจจุบันไมมีกฎหมายบัญญัติใหการคุมครองเด็กเกี่ยวกับการหามซื้อขายเด็ก รวมถึงมิให
มีผูอื่นกระทําตอเด็กในลักษณะอาศัยอํานาจปกครองเด็ก สงเด็กใหกับผูอื่นโดยไดรับเงิน หรือประโยชน
อื่นใดตอบแทน ดังนั้น เพื่อเปนการปกปองและคุมครองเด็กใหไดรับประโยชนสูงสุดในทุกดาน จึงจําเปนตอง
ตราพระราชบัญญัตินี้”
๑) การกําหนดฐานความผิดซื้อขายเด็ก
เห็นวา การเพิ่มฐานความผิดซื้อขายเด็กและฐานความผิดลักพาเด็กสอดคลองกับ
อนุสัญญาวาดวยสิทธิเด็ก ขอ ๓๕ ที่กําหนดวา “รัฐภาคีจะดําเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวง ทั้งใน
ระดับประเทศ ระดับทวิภาคี และพหุภาคี เพื่อปองกันการลักพา การขาย หรือการลักลอบคาเด็กไมวาดวย
วัตถุประสงคใด หรือในรูปแบบใด” จึงไดนํามาสูการแกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๒๐/๑
และมาตรา ๓๒๐/๒ เพื่อกําหนดฐานความผิดซื้อขายเด็ก ซึ่งเอาผิดทั้งกับผูขาย ผูซื้อ ผูที่เปนคนกลาง
มีบทหนัก และมีการกําหนดเหตุยกเวนโทษ เพื่อคุมครองสวัสดิภาพเด็ก มิใหผูอื่นกระทําตอเด็กในลักษณะ
ที่อาศัยอํานาจปกครองเด็ก สงเด็กใหกับผูอื่นโดยไดรับเงินหรือประโยชนอื่นตอบแทน
๒) การกําหนดฐานความผิดลักพาเด็ก
การกําหนดฐานความผิดลักพาเด็กเพื่อคุมครองสวัสดิภาพเด็กมิใหถูกผูอื่นกระทําตอเด็ก
ในลักษณะแยงอํานาจปกครองเด็กไป เชน กรณีที่เด็กถูกลักพาตัวไปเปนขอทาน หรือพอแมแยงตัวบุตรที่อยู
ในอํานาจปกครองของอีกฝายหนึ่ง แมตามประมวลกฎหมายอาญาจะมีความผิดพรากผูเยาวอยูแลว แตพบวา
ไมสามารถลงโทษกรณีที่กระทําโดยพอแมได จึงไดกําหนดฐานความผิดลักพาเด็ก เปนมาตรา ๓๒๐/๓
เห็นวา โดยหลักการเปนการคุมครองเด็กเพิ่มมากขึ้น จึงเปนเจตนารมณที่ดี อยางไรก็ตาม
การบัญญัติกฎหมายตองใชถอยคํารัดกุมและคํานึงถึงปญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการตีความกฎหมาย
20 ชานนท ศรีสาตร. เหตุยกเวนโทษในกฎหมายอาญา. วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
พ.ศ. 2545
21 วรรณโชค ไชยสะอาด....: http://www.posttoday.com/analysis/report/413838