Page 31 - ประมวลความเห็นทางกฎหมาย ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2560
P. 31

๒๙



                       เงินใหจําเลย ตอมาแมของบุคคลปญญาออนไดรูและแจงความเมื่อระยะเวลาพน ๓ เดือนนับแตวันที่
                       ความผิดเกิด แตยังไมพน ๓ เดือนนับแตวันที่แมรูวามีความผิดเกิดขึ้น จึงทําใหจําเลยตอสูเรื่องอายุความ

                       ซึ่งในคดีนี้ศาลฎีกาไดตัดสินโดยวางหลักวาในมาตรา ๙๖ คําวา “รู” ตองนับตั้งแตวันที่พอแมรู  ดวยเหตุนี้
                       จึงนํามาสูการบัญญัติกฎหมายใหชัดเจนขึ้น โดยไดเพิ่มวรรคสองและวรรคสาม ของมาตรา ๙๖ คือ

                                   “ในกรณีที่ผูเยาวผูมีกายพิการหรือจิตฟนเฟอนไมสมประกอบ ผูไรความสามารถหรือ
                       ผูเสมือนไรความสามารถเปนผูเสียหาย ถามิไดรองทุกขภายในสามเดือน นับแตวันที่ผูแทนโดยชอบธรรม
                       ผูอนุบาลหรือผูพิทักษแลวแตกรณี รูเรื่องความผิดและรูตัวผูกระทําผิด เปนอันขาดอายุความเชนกัน

                                   ผูอนุบาลหรือผูพิทักษตามความในวรรคสองใหหมายความรวมถึงผูอนุบาลหรือผูพิทักษ
                       ตามความเปนจริง”


                                   เห็นวา การบัญญัติกฎหมายดังกลาวมีหลักการที่เหมาะสมกับความออนดอยของผูเสียหายเปน
                       เด็กหรือผูไรความสามารถหรือผูเสมือนไรความสามารถ โดยตองอาศัยความรูเรื่องของผูแทนโดยชอบธรรม
                       ผูอนุบาลและผูพิทักษเปนเกณฑ เพื่อเปนการคุมครองสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของบุคคลเหลานั้นดวย
                       เนื่องจากอายุความรองทุกขในคดีอาญาเปนการกําหนดระยะเวลาในการใชสิทธิเรียกรองหรือฟองรอง

                       หากไมดําเนินการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนดจะมีผลใหคดีขาดอายุความ และผูเสียหายไมอาจใช
                       สิทธิตามกฎหมายเพื่อฟองรองผูกระทําผิดได

                                     สําหรับความผิดฐานกระทําชําเราเด็ก ตามมาตรา 277 วรรคหา แหงประมวลกฎหมาย
                       อาญา กรณีเด็กฝายหนึ่งอายุไมเกิน 18 ป กระทําตออีกฝายอายุ 13-15 ป มีเพศสัมพันธโดยสมัครใจ
                       หากศาลอนุญาตใหทั้งสองฝายสมรสกัน ผูกระทําผิดไมตองรับโทษ อาจเปนการละเมิดสิทธิและซ้ําเติมเด็ก

                       ที่จําตองสมรสเพื่อใหอีกฝายซึ่งเปนผูกระทําผิดไมตองรับโทษตามกฎหมาย นั้น

                                     มาตรา ๒๗๗ แหงประมวลกฎหมายอาญา ไดมีการแกไขครั้งลาสุด ตามพระราชบัญญัติ
                       แกไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๓ ) พ.ศ. ๒๕๕๘ จากเดิมกฎหมายกําหนดใหผูกระทํา
                       ความผิดฐานกระทําชําเราเด็กอายุเกินกวาสิบสามปแตไมเกินสิบหาปไมตองรับโทษ หากศาลอนุญาตให
                       ผูกระทําความผิดสมรสกับผูเสียหายที่เปนเด็ก ทําใหเกิดปญหากรณีเด็กถูกบังคับใหยินยอมสมรสกับ

                       ผูกระทําความผิดโดยศาลไมอาจตรวจสอบได การแกไขกฎหมายครั้งนี้จึงกําหนดใหศาลที่มีอํานาจ
                       พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว นํามาตรการคุมครองสวัสดิภาพตามกฎหมายวาดวยการคุมครองเด็ก
                       มาใช หรือพิจารณาอนุญาตใหสมรสโดยกําหนดเงื่อนไขที่จะดําเนินการภายหลังการสมรสดวย เพื่อใหมี

                       การตรวจสอบความยินยอมของเด็กในการสมรสไดอยางละเอียดรอบคอบยิ่งขึ้น และเปนไปเพื่อประโยชน
                       ของเด็ก ในกรณีที่ศาลมีคําสั่งอยางใดแลว ศาลจะลงโทษผูกระทําความผิดนอยกวาที่กฎหมายกําหนดไว
                       สําหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได จากเดิมที่ผูกระทําผิดไมตองรับโทษเพื่อปองกันมิใหผูกระทําความผิดใช
                       การสมรสเปนเหตุใหไมตองรับโทษ ซึ่งเปนความมุงหมายในการแกไขกฎหมายครั้งนี้ อยางไรก็ตาม
                       กฎหมายยังคงใหศาลมีดุลพินิจอนุญาตใหเด็กทั้งสองฝายสมรสกันไดอยู ไมไดยกเลิกไปแตอยางใด
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36