Page 27 - ประมวลความเห็นทางกฎหมาย ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2560
P. 27

๒๕



                                     (๗) จัดใหเด็กกระทํากิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองทางดานคุณธรรม จริยธรรม และบําเพ็ญ
                       ประโยชนตอสังคม

                                     หากปรากฏชัดวาผูปกครองหรือผูที่รับเด็กไวปกครองดูแลละเลยไมปฏิบัติตามขอกําหนด
                       ของพนักงานเจาหนาที่หรือผูมีหนาที่คุมครองสวัสดิภาพเด็กตาม ก็ใหพนักงานเจาหนาที่หรือผูมีหนาที่
                       คุมครองสวัสดิภาพเด็กรับเด็กกลับไปดูแลไดตามมาตรา ๔๔ และการดําเนินการใดๆ ทั้งหมดตองคํานึงถึง
                       ประโยชนสูงสุดของเด็กที่ตองไดรับการพัฒนาการตามวัยและไดรับการคุมครองตามเจตนารมณของ
                       กฎหมาย


                                     ดังนั้น โดยหลักการของการแกไขนี้ เปนประเด็นที่สอดคลองกับอนุสัญญาวาดวยสิทธิเด็ก
                       Convention on the rights of the child ขอ ๑๙ โดยเปาหมายสําคัญในการแกไขประมวลกฎหมาย
                                                                 17
                       อาญาดังกลาวนี้คือการขยายกรอบอายุเพื่อคุมครองเด็กใหเติบโต มีพัฒนาการตามวัย โดยเด็กแตละวัย
                       จะมีการเรียนรูการพัฒนาที่แตกตางกัน ถาเด็กไดมีการเรียนรูตามวัยเด็กจะมีพัฒนาการที่ควรจะ
                       เปนการพัฒนาระบบความคิดเกี่ยวกับการรับรู การตัดสินใจ การจัดการที่เกี่ยวกับตัวเอง โดยชวงปฐมวัย

                       (๐ - ๕ ป) จะเรียนรูเกี่ยวกับตัวเองเปนหลัก ชวง ๖ – ๙ ป จะเริ่มเรียนรูเหตุผลงายๆ ไมซับซอน
                       ตรงไปตรงมา เมื่ออยูในสถานการณบางสถานการณเด็กจะไมสามารถแกไขสถานการณโดยใชความคิด
                       ที่ซับซอนได ชวง ๑๒ – ๑๓ ป เด็กจะสามารถประมวลผลโดยนําประสบการณมาเชื่อมโยงทําความเขาใจ

                       กับสิ่งตางๆ ไดมากขึ้น แตยังไมสมบูรณ สามารถตอบไดวาสิ่งใดเกิดขึ้นกับตัวเองอยางไร เรียนรูเพื่อเลือก
                       ตัดสินใจไดดวยตนเอง เมื่อเด็กยังไมสามารถตัดสินใจดวยตนเองอยางสมบูรณ จึงตองพิจารณาวาคนที่มี
                       อํานาจตัดสินใจแทนไดตัดสินใจโดยคํานึงถึงประโยชนสูงสุดของเด็กหรือไม จะมีกลไกใดที่จะชวยควบคุม
                                        18
                       การตัดสินใจแทนเด็ก หากเด็กมีพฤติกรรมเสี่ยง มีการกระทําที่ไมเหมาะสม เชน ลักขโมย การใชความ
                       รุนแรง เปนตน ตองไดรับการรักษาดูแลจากจิตแพทย การนําเด็กเขาสูกระบวนการยุติธรรมจะไมไดรับ
                       การรักษาหรือแกไข ซึ่งอาจสงผลใหเด็กมีการพัฒนาและเติบโตอยางมีพฤติกรรมที่ไมเหมาะสมตอไป
                       ในอนาคต การกําหนดอายุขั้นต่ําในการรับผิดทางอาญาซึ่งปจจุบันกําหนดไว ๑๐ ป เปน ๑๒ ป จึงสอดคลอง
                       กับหลักการทางการแพทยเพื่อใหการพัฒนากระบวนการคิดแบบซับซอนของเด็กมีความสมบูรณมากขึ้น

                       และเปนไปในแนวทางเดียวกันกับกฎหมายอาญาของตางประเทศ ดังตัวอยางตอไปนี้

                                     ตัวอยางกฎหมายตางประเทศ

                                     ประเทศเยอรมนี ปจจุบันไดกําหนดอายุขั้นต่ําในการรับผิดทางอาญาเปน ๑๔ ป จากในอดีต
                       เคยใชเกณฑ ๑๒ ป อยางไรก็ตามโครงสรางความรับผิดอาญาของระบบกฎหมายเยอรมันแตกตางกับ
                       ประเทศไทย คือองคประกอบภายในของความผิดจะตองประกอบดวยความชั่ว (schuld) ซึ่งเด็กที่มีอายุนอย
                                                  19
                       จะขาดความสามารถในการทําชั่ว แมการกระทําของเด็กเปนสิ่งที่ผิดก็ไมอาจตําหนิได จึงไมมีเหตุผลที่จะ
                       ลงโทษเด็กที่อายุนอยกวา ๑๔ ป ที่ไดกระทําการอันกฎหมายบัญญัติเปนความผิด



                                     17  ขอ 19 รัฐภาคีจะดําเนินการที่เหมาะสมทั้งปวงดานนิติบัญญัติ บริหาร สังคมและการศึกษา ในอันที่จะคุมครองเด็ก
                       จากรูปแบบทั้งปวงของความรุนแรง ทั้งทางรางกายและจิตใจ...
                                     18  แพทยหญิงพรรณพิมล วิปุลากร ผูตรวจราชการกระทรวง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
                                     19 จันทรเพ็ญ แจมมาก.การกระทําโดยบันดาลโทสะกับความรับผิดทางอาญา ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายอาญาอังกฤษ
                       เยอรมัน และไทย. วิทยานิพนธนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. พ.ศ. 2545 หนา 19
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32