Page 265 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 265

ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ





                       ในบำงกรณีก็มีประเด็นที่น่ำพิจำรณำว่ำเกี่ยวข้องกับเหตุแห่งกำรเลือกปฏิบัติหรือไม่ เช่น กรณีผู้ไม่
          ผ่ำนกำรคัดเลือกเข้ำเป็นนักศึกษำแพทย์อ้ำงว่ำถูกเลือกปฏิบัติ (คดีหมำยเลขแดงที่ อ ๙๗๒/๒๕๕๖ คดีหมำยเลขด�ำ
          ที่ อ ๖๗๓/๒๕๕๒) ข้อเท็จจริงในคดีนี้สรุปได้ว่ำ ผู้ฟ้องคดีสมัครสอบคัดเลือกและผ่ำนกำรสอบข้อเขียนของวิทยำลัย

          แพทยศำสตร์ มหำวิทยำลัยแห่งหนึ่ง แต่ไม่ผ่ำนกำรสัมภำษณ์ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่ำตนถูกเลือกปฏิบัติ ศำลปกครองสูงสุด
          พิจำรณำประเด็นกำรที่คณะกรรมกำรสอบสัมภำษณ์มีมติไม่รับผู้ฟ้องคดีเข้ำศึกษำ เห็นว่ำกรรมกำรทุกคนไม่เคยมีเหตุ
          โกรธเคืองกับผู้ฟ้องคดีมำก่อน จึงไม่มีมูลเหตุจูงใจที่จะกลั่นแกล้งไม่รับผู้ฟ้องคดีเข้ำศึกษำ ส�ำหรับหลักเกณฑ์กำรประเมิน

          ผลกำรสอบสัมภำษณ์นั้น ปรำกฏตำมเอกสำรกำรสัมภำษณ์ว่ำ มีการก�าหนดลักษณะที่ไม่พึงประสงค์เช่น “Overt
          Homosexuality” การแต่งตัว กิริยามารยาทไม่เหมาะสม การควบคุมอารมณ์ไม่เหมาะสม ความไม่รับผิดชอบ

          ขาดมนุษยสัมพันธ์ ขาดความใฝ่รู้ อย่างไรก็ตาม จากข้อเท็จจริงในการพิจารณา ศาลปกครองรับฟังได้ว่า การตอบค�าถาม
          ตลอดจนกิริยาอาการของผู้ฟ้องคดีในการสอบสัมภาษณ์เป็นเหตุให้กรรมกำรทั้ง ๙ คนมีมติไม่รับผู้ฟ้องคดี
          เข้ำศึกษำ ดังนั้น กำรใช้ดุลพินิจของคณะกรรมกำรสอบสัมภำษณ์ในกำรลงมติดังกล่ำวจึงเป็นกำรพิจำรณำที่มี

          เหตุผลเหมำะสมและชอบด้วยกฎหมำยแล้ว นอกจำกนี้ กำรคัดเลือกบุคคลเข้ำศึกษำวิชำแพทยศำสตร์ย่อมต้อง
          คัดเลือกจำกผู้มีควำมรู้ควำมสำมำรถ สภำพกำยและสภำพจิตใจเหมำะสมที่จะประกอบวิชำชีพแพทย์  คณะ

          กรรมกำรสอบสัมภำษณ์ย่อมสำมำรถใช้ดุลพินิจโดยพิจำรณำจำกบุคลิกลักษณะและสภำวะทำงอำรมณ์ของ
          ผู้เข้ำสอบสัมภำษณ์ได้  อีกทั้งคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ก็มิได้พิจารณาไม่รับผู้ฟ้องคดีเพราะเหตุ
          ด้านบุคลิกภาพแต่ประการเดียว แต่ยังปรำกฏควำมไม่เหมำะสมด้ำนอื่นอีกหลำยประกำรที่เป็นเหตุผลในกำรไม่รับ

          ผู้ฟ้องคดีเข้ำศึกษำ กำรพิจำรณำของคณะกรรมกำรสอบสัมภำษณ์จึงไม่ใช่กำรกระท�ำที่ต้องห้ำมตำมมำตรำ ๓๐ ของ
          รัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช ๒๕๔๐ จำกคดีดังกล่ำว ผู้วิจัยมีข้อพิจำรณำ ดังนี้
                       ๑) “เหตุแห่งกำรเลือกปฏิบัติ” ในกรณีนี้ หำกปรำกฏว่ำ กรรมกำรคัดเลือกตัดสินจำกกำรแสดงออก

          ทำงเพศ เช่น “Overt Homosexuality” ก็จะเป็นกรณีกำรปฏิบัติที่แตกต่ำงกับบุคลด้วยเหตุรสนิยมทำงเพศ ซึ่งเป็น
          เหตุที่ได้รับกำรคุ้มครองตำมกฎหมำย อย่ำงไรก็ตำม แม้จะมีกำรปฏิบัติที่แตกต่ำงกันด้วยเหตุรสนิยมทำงเพศ แต่หำก
          มีเหตุผลอันสมควร เช่น สำมำรถแสดงให้เห็นควำมจ�ำเป็นของคุณสมบัตินั้นต่อกำรท�ำงำนหรือกำรศึกษำได้ ก็อำจไม่

          เป็นกำรเลือกปฏิบัติ
                       ๒) ในคดีนี้ปรำกฏว่ำ นอกจำกเหตุเกี่ยวกับรสนิยมทำงเพศแล้ว มีเหตุอื่นอีกหลำยเหตุที่กรรมกำรน�ำมำ

          พิจำรณำ เช่น กำรตอบค�ำถำม กิริยำอำกำร จะเห็นได้ว่ำ เหตุเหล่ำนั้นไม่เกี่ยวข้องกับ “เหตุแห่งกำรเลือกปฏิบัติ” ตำม
          กฎหมำยสิทธิมนุษยชน ดังนั้น จะเห็นได้ว่ำ หำกมีกำรปฏิบัติที่แตกต่ำงกันด้วยเหตุอื่น ๆ เช่น เหตุเชิงพฤติกรรม ที่
          ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุแห่งกำรเลือกปฏิบัติดังเช่นข้อเท็จจริงตำมกรณีนี้แล้ว ก็จะไม่อยู่ภำยใต้กำรห้ำมเลือกปฏิบัติตำม

          กฎหมำยสิทธิมนุษยชน
                       ๓) กำรปฏิบัติที่แตกต่ำงกันด้วยเหตุแห่งกำรเลือกปฏิบัตินั้นเป็นกำรยำกในกำรพิสูจน์ เนื่องจำกผู้ที่ปฏิบัติ

          กำรอันพิพำทนั้นอำจอ้ำงเหตุอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุแห่งกำรเลือกปฏิบัติ หรือมีกำรน�ำเหตุอื่น ๆ เข้ำมำประกอบ
          กำรพิจำรณำหรือตัดสินใจในกรณีที่มีเหตุแห่งกำรเลือกปฏิบัติเกี่ยวข้องอยู่ด้วย ปัญหำจึงอยู่ที่ข้อเท็จจริงในกำรระบุชัด
          ถึงมูลเหตุกำรปฏิบัติอันแตกต่ำงนั้นว่ำมำจำกเหตุแห่งกำรเลือกปฏิบัติหรือเหตุอื่น



                       นอกจำกนี้ ยังมีบำงกรณีมีข้อน่ำพิจำรณำว่ำเป็นกำรปฏิบัติที่แตกต่ำงกันด้วยเหตุแห่งเชื้อชำติ ภำษำ
          หรือไม่ เช่น กรณีข้อบังคับกำรศึกษำที่ก�ำหนดให้ใช้ภำษำอังกฤษในกำรเขียนวิทยำนิพนธ์นั้น ศำลเห็นว่ำ เป็นกฎที่ใช้กับ






                                                        264
   260   261   262   263   264   265   266   267   268   269   270