Page 239 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 239

สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ



                    การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือและกลไกที่ใช้เชื่อมประสานการทำางาน

            ของหลายฝ่ายเข้าด้วยกัน เริ่มจากการกำาหนดทิศทางการพัฒนาให้เกิดดุลยภาพทั้งเศรษฐกิจ สังคม และ
            สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันบนฐานกระบวนการที่ผู้มีส่วนได้เสียได้เข้ามาร่วมตัดสินใจเลือกการพัฒนานั้นๆ

            โดยมีพื้นฐานของการบริหารจัดการที่ดี มีความรับผิดชอบร่วมกัน การพิจารณาฐานศักยภาพ เงื่อนไข บริบท

            ต่างๆ ทั้งทางบวกและลบ จึงเป็นทั้งเครื่องมือและกลไกหนึ่งที่จะนำามาสู่การบูรณาการ ทั้งความคิดและ
            การปฏิบัติการ ให้เกิดการทำางานอย่างมีระบบและมีกระบวนการตัดสินใจอย่างมีส่วนร่วม โดยมุ่งเป้าของ

            การพัฒนาที่ยั่งยืนบนศักยภาพและเงื่อนไขของการพัฒนาในระยะยาว ซึ่งการพัฒนานโยบายและ

            แผนที่เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่นี้ กระบวนการ SEA จะมีส่วนสำาคัญในการกำาหนดเป้าประสงค์การพัฒนา
            และทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์


                    ดังนั้น การแก้ไขปัญหาผังเมืองและการส่งเสริมสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
            จึงมิใช่เพียงการแก้ไขกระบวนการวางผังหรือกฎหมายผังเมืองเพียงเท่านั้น ควรมีการส่งเสริมสิทธิชุมชน

            และสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำาหนดทางเลือก ทิศทางของชุมชนในกระบวนการประเมิน

            สิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ อันเป็นเครื่องมือสำาคัญที่จะกำาหนดทิศทางทางเลือกการพัฒนาพื้นที่และ
            ลดการขัดกันของการใช้ประโยชน์ที่ดินจากการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกัน


                    หน่วยงานที่กำาหนดนโยบายเชิงพื้นที่ในด้านต่างๆ เช่น สำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
            และสังคมแห่งชาติ สำานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกรมโยธาธิการและ

            ผังเมือง จึงควรจัดทำาการประเมินผลกระทบระดับยุทธศาสตร์และประสานกับหน่วยงานที่จัดทำาแผนแม่บท
            พัฒนาพื้นที่ด้านต่างๆ ที่จะใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ไปใช้ประโยชน์

            ในกระบวนการกำาหนดนโยบาย การตัดสินใจ และกระบวนการวางผังเมืองให้เกิดทางเลือกในการพัฒนาพื้นที่

            อย่างมีส่วนร่วม

                    2) ให้กรมโยธ�ธิก�รและผังเมืองจัดทำ�คู่มือแนวท�งก�รใช้หลักก�รคุ้มครองล่วงหน้� หลักก�ร

            มีส่วนร่วม และหลักก�รพัฒน�ที่ยั่งยืน เพื่อเป็นแนวทางสำาหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติและ
            ใช้ประโยชน์จากผังเมืองในการใช้อำานาจและการทำาหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 และ

            กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา
            คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ในการนำาสาระของผังเมืองรวมที่ผ่านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

            และผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ไปประกอบการใช้ดุลพินิจในการพิจารณารายงานวิเคราะห์

            ผลกระทบสิ่งแวดล้อม การกำาหนดพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม การควบคุมอาคาร การจัดทำาเทศบัญญัติ
            ข้อบัญญัติท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการนำาสาระในผังเมืองไปใช้ประโยชน์ในคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมี

            ส่วนร่วมของประชาชนในช่วงที่ผังเมืองรอประกาศใช้บังคับ

                    การจัดทำาคู่มือนี้ ควรมีการศึกษาวิจัยประกอบ โดยควรเป็นการทำางานมีส่วนร่วมขององค์กรวิชาชีพ

            ด้านผังเมือง องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชน ทั้งภาครัฐภาคประชาสังคม

            โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเป็นองค์กรสนับสนุน เช่น กรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นต้น




                                                          238
   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244