Page 238 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 238
ผังเมืองกับก�รคุ้มครองสิทธิชุมชน
และสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
ข้อเสนอระยะย�ว
1) ก�รประส�นง�นเพื่อให้คว�มรู้ คว�มเข้�ใจในด้�นก�รว�งผัง ก�รมีส่วนร่วมในก�รว�งผัง
และก�รปฏิบัติต�มผัง รวมทั้งก�รนำ�ผังเมืองไปใช้ประโยชน์ โดยเมื่อมีการจัดทำาคู่มือด้านต่างๆ และ
มีการประสานความร่วมมือการวางผังด้วยการมีส่วนร่วมแล้ว หน่วยงานที่ร่วมมือกันข้างต้น ได้แก่ องค์กรด้าน
วิชาการ วิชาชีพ และองค์กรชุมชน ควรประสานขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานวางผัง รวมทั้งหน่วยงาน
ที่สนับสนุนกระบวนการนโยบายสาธารณะ ด้วยการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ กรมโยธาธิการ
และผังเมือง สำานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เป็นต้น
ในการให้มีการทำางานด้วยการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ถอดบทเรียนและสรุปเป็นความรู้ ความเข้าใจ
ในด้านการวางผัง การมีส่วนร่วมในการวางผังและการปฏิบัติตามผัง รวมทั้งการนำาผังเมืองไปใช้ประโยชน์แก่
ท้องถิ่น ภาคเอกชน ชุมชน ภาคประชาสังคม และประชาชนทั่วไป เพื่อให้กระบวนการผังเมืองซึ่งเป็นนโยบาย
สาธารณะและมีผลทางกฎหมายในทางปฏิบัตินี้ มีการพัฒนาองค์ความรู้ การกำาหนดแนวทางพัฒนาพื้นที่
การแก้ไขปัญหาด้วยการมีส่วนร่วม ส่งเสริมสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
2) ก�รส่งเสริมก�รว�งผังชุมชนด้วยก�รมีส่วนร่วม โดยเป็นกรมโยธาธิการและผังเมือง
ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาเครือข่ายผังเมืองและส่งเสริมการวางผังชุมชนอยู่แล้ว ควรพัฒนา ขยายผล
นำาคู่มือผังเมืองมามีส่วนร่วมกับองค์กรที่จัดทำาผังตำาบล ผังชีวิต เพื่อให้มีการเชื่อมโยงผังตำาบลมาสู่ผังชุมชน
ที่เป็นการกำาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและการจัดทำาข้อบัญญัติท้องถิ่น และการนำาผังเมืองไปใช้ประโยชน์
ในการจัดทำาธรรมนูญชุมชน
6.2.2 ข้อเสนอแนะด้านผังเมือง
ข้อเสนอระยะสั้น
1) ก�รประเมินผลกระทบระดับยุทธศ�สตร์เชิงพื้นที่ในก�รจัดทำ�ผังเมือง
การจัดทำาผังเมืองในระดับนโยบายและผังที่ครอบคลุมพื้นที่ที่มีการจัดทำาแผนนโยบายของรัฐ
ในหลายด้าน เช่น พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษพื้นที่จังหวัดหรือพื้นที่เฉพาะที่จะมีการพัฒนาที่จะมี
การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ขัดแย้ง ต้องมีการประเมินผลกระทบระดับยุทธศาสตร์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม
(SEA - Strategic Environmental Assessment) เช่น พื้นที่แผนพัฒนาภาคใต้ ซึ่งมีนโยบายการพัฒนา
ด้านพลังงาน ด้านการคมนาคมขนส่ง ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่มีความขัดแย้งกับการใช้พื้นที่
เพื่อความมั่นคงทางอาหาร การท่องเที่ยว เป็นต้น เพื่อให้เกิดทางเลือกการใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อการพัฒนา
ที่เหมาะสมที่เป็นการร่วมกำาหนดและลดความขัดแย้งในระดับโครงการ อีกทั้งเป็นแนวทางการวางผัง
ในระดับชุมชนอีกด้วย
237