Page 241 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 241

สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ



               6.2.3 ข้อเสนอแนะด้านกฎหมาย


                    1) ก�รปรับปรุงพระร�ชบัญญัติก�รผังเมือง พ.ศ. 2518 ในส่วนของโครงสร้�งและองค์ประกอบ
            ของกรรมก�รผังเมืองและก�รกระจ�ยอำ�น�จก�รตัดสินใจ ด้วยก�รมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่ ท้องถิ่น

            และชุมชน กรมโยธาธิการและผังเมือง ควรดำาเนินการด้วยการมีส่วนร่วม โดยเพิ่มกลไกคณะกรรมการ

            ผังเมืองในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่นที่มีอำานาจการตัดสินใจผังเมือง การจำาแนกบทบาท อำานาจหน้าที่
            ระหว่างคณะกรรมการผังเมืองระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่นให้ชัดเจน โดยมีการกำาหนด

            หลักเกณฑ์ ที่มา และองค์ประกอบของคณะกรรมการ ที่มีสัดส่วนขององค์กรชุมชน องค์กรเอกชน ในด้าน

            ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพร่วมเป็นกรรมการ โดยมีสัดส่วนที่เหมาะสม โดยกรรมการ

            แต่ละระดับควรมีองค์ประกอบจากกลุ่มภาครัฐ ภาคประชาสังคม ผู้ทรงคุณวุฒิ และองค์กรชุมชน ในจำานวน
            ที่เท่ากัน และในแต่ละกลุ่มควรมีจำานวนกรรมการที่มาจากทั้งด้านการพัฒนาทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม

            สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ รวมทั้งพัฒนากลไกการประสานงาน การสนับสนุนทางวิชาการจากส่วนกลางไปยัง

            หน่วยงาน และกลไกการวางผังและพิจารณาผังในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่นด้วย

                    2) ก�รปรับปรุงกฎหม�ย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับก�รใช้ประโยชน์พื้นที่ เนื่องด้วยกิจกรรม

            บางประเภทที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบการให้สัมปทาน อาชญาบัตร และ
            ประทานบัตร ยังไม่อยู่ในการพิจารณาบรรจุไว้ในการจัดทำาข้อกำาหนดควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน จึงเป็น

            ช่องว่างในการพิจารณาอนุมัติอนุญาต เช่น เหมืองแร่ การสำารวจปิโตรเลียม ซึ่งไม่มีมาตรการในข้อกำาหนด

            ผังเมือง เนื่องจากไม่ได้เป็นกิจการที่อยู่ในประเภทโรงงานซึ่งใช้อ้างอิง และกิจการดังกล่าวทำาให้เกิด
            การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้พื้นที่ ทั้งที่เป็นพื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่เกษตรและชุมชน จึงทำาให้การควบคุมการใช้

            ที่ดินไม่ครอบคลุมและไม่มีสาระที่นำาไปพิจารณาในการกำาหนดมาตรการป้องกันผลกระทบและการพิจารณา

            อนุมัติอนุญาต

                    ดังนั้น กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงควรปรับปรุงข้อกำาหนดควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้

            ครอบคลุม โดยให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกลุ่มประเภทกิจกรรมที่มี

            การขอสัมปทานดังกล่าว และควรมีการประเมินผลกระทบระดับยุทธศาสตร์ในเชิงพื้นที่ เพื่อกำาหนดทางเลือก

            ในการกำาหนดเขตพื้นที่การให้สัมปทาน ซึ่งอาจต้องมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 และ
            พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในประเด็นของการกำาหนด

            พื้นที่เขตแหล่งแร่ และการกำาหนดพื้นที่ที่จะให้มีการสำารวจ ผลิต หรือเก็บรักษาปิโตรเลียม ซึ่งจะมีผล

            ต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินในด้านอื่น จึงควรมีการกำาหนดด้วยการมีส่วนร่วมและมีการประเมินผลกระทบ
            ระดับยุทธศาสตร์ก่อนประกาศเขต โดยให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

            ดำาเนินการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน











                                                          240
   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245   246