Page 240 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 240
ผังเมืองกับก�รคุ้มครองสิทธิชุมชน
และสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
3) ให้กรมโยธ�ธิก�รและผังเมืองปรับปรุงม�ตรฐ�นก�รกำ�หนดก�รใช้ประโยชน์ที่ดิน และ
ก�รจัดทำ�ข้อกำ�หนดให้เป็นไปต�มหลักวิช�ก�ร โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองควรเป็นหน่วยงานหลักประสาน
กับหน่วยงานด้านอุตสาหกรรม พลังงาน เหมืองแร่ องค์กรวิชาการวิชาชีพ เพื่อให้การวางผังเมืองสามารถ
กำาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีการจัดทำาข้อกำาหนดและมาตรการควบคุมให้ทันต่อสถานการณ์การพัฒนา
ป้องกันผลกระทบต่อชุมชน จึงควรมีการศึกษาร่วมมือระหว่างหน่วยงานและองค์การที่เกี่ยวข้อง
ในการพิจารณาจัดกลุ่มประเภทกิจกรรมที่มีกระบวนการผลิต การใช้วัตถุดิบที่อาจเป็นอันตราย การจัดการของเสีย
ที่มีลักษณะต่างกัน รวมทั้งความต้องการใช้ทรัพยากร เช่น ที่ดิน นำ้า รวมทั้งที่ตั้งเฉพาะ เพื่อจัดทำาบัญชีอ้างอิง
ในการกำาหนดข้อห้ามและข้อให้ดำาเนินกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ที่เหมาะสม มีระยะกันชนและระยะป้องกัน
ที่ปลอดภัย ทั้งนี้ ประเภทกิจกรรมที่ควรนำามาพิจารณา ได้แก่ การผลิตไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่างกัน การบำาบัด
นำ้าเสียและจัดการกากของเสีย ซึ่งมีความแตกต่างกันในขนาดและประเภทของกากของเสียที่เป็นขยะชุมชน
ขยะติดเชื้อ และขยะอันตราย เป็นต้น กิจการดังกล่าวนี้ ควรมีการศึกษากำาหนดประเภทย่อย เพื่อให้
การกำาหนดข้อห้ามและขอให้มีการพิจารณาพื้นที่ตั้ง พื้นที่ป้องกัน มิให้ส่งผลกระทบต่อชุมชน
ข้อเสนอระยะย�ว
1) ให้กรมโยธ�ธิก�รและผังเมืองและรัฐมนตรีว่�ก�รกระทรวงมห�ดไทย ออกระเบียบเพื่อให้
เปิดเผยข้อมูลก�รตัดสินใจของคณะกรรมก�รผังเมืองและข้อมูลประกอบก�รพิจ�รณ�ให้เป็นไปต�ม
หลักธรรม�ภิบ�ล โปร่งใส ตรวจสอบได้
เนื่องด้วยการตัดสินใจของคณะกรรมการผังเมืองมีผลต่อสิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพย์สิน
ทั้งส่วนบุคคลและสาธารณะ ดังนั้น นอกจากการปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการผังเมืองแล้ว ควรมี
การแสดงความรับผิดชอบในการตัดสินใจนโยบายสาธารณะ โดยแสดงการลงมติและมีการบันทึกเป็น
ลายลักษณ์อักษรในการให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบในการลงมติ เพื่อเป็นการส่งเสริมกระบวนการ
ตัดสินใจสาธารณะที่เป็นธรรมาภิบาล มีเหตุผล หลักการ มีความเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และ
ความพร้อมรับผิดชอบ
2) กรมโยธ�ธิก�รและผังเมืองควรประส�นง�นกับสำ�นักง�นคณะกรรมก�รกฤษฎีก�ใน
ก�รศึกษ�เพื่อร่วมกำ�หนดแนวท�งแก้ไขปัญห�ในขั้นตอนก�รตรวจสอบร่�งผังเมืองและร่�งกฎกระทรวง
เนื่องจากผังเมืองส่วนใหญ่ใช้เวลานานมากในขั้นตอนการตรวจของสำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เพื่อให้มีความถูกต้องของพื้นที่นามศัพท์และข้อความทางกฎหมาย ในขณะที่สำานักงานคณะกรรมการ
กฤษฎีกามีภารกิจอื่นนอกเหนือจากด้านผังเมือง ดังนั้น กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงควรมี
การประสานงานกับสำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อร่วมศึกษากำาหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา
ความล่าช้า ทั้งในด้านขอบเขตปริมาณงาน กรอบเวลา และข้อจำากัดด้านบุคลากร รวมทั้งกลไกและ
การประสานงานเพื่อตรวจสอบความถูกต้องในระดับพื้นที่
239