Page 204 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 204

ผังเมืองกับก�รคุ้มครองสิทธิชุมชน
                                                                                         และสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน



                5.1.2 สิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชน การจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

                      ต่อร่างผังเมือง


                    ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนี้ คณะผู้วิจัยพบว่ามีปัญหา
             การจัดประชุมชี้แจงไม่ทั่วถึงครอบคลุมพื้นที่ และการจัดประชุมชี้แจงเพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชน

             ไม่เพียงพอ



                    1) ปัญห�ก�รจัดประชุมชี้แจงไม่ทั่วถึง ไม่ครอบคลุมพื้นที่

                    การดำาเนินการโฆษณาและประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เป็นไปตามขั้นตอนที่ 4 ของ
             การวางและจัดทำาผังเมืองรวมเมือง ผังเมืองรวมชุมชน และขั้นตอนที่ 9 ของการวางและจัดทำาผังเมืองรวม

             จังหวัด ซึ่งกฎหมายมิได้กำาหนดรูปแบบที่ชัดเจนในการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนไว้


                    ปัญหาที่พบ คือ การที่ประชาชนในพื้นที่ซึ่งจะมีการวางผังเมือง ไม่ทราบข้อมูลกระบวนการวางและ
             จัดทำาผังเมืองรวม ทั้งไม่ทราบถึงสิทธิของตนเองในการเข้าไปมีส่วนร่วมในแต่ละกระบวนการดังกล่าว

             เนื่องจากการจัดประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมักจัดโดยไม่ได้กระจายครอบคลุม

             ไปยังพื้นที่ตามการวางผังเมืองทั้งหมดอย่างทั่วถึง ส่งผลให้ประชาชนบางส่วนไม่ทราบข้อมูลและไม่อาจ
             เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการวางผังเมืองในพื้นที่ของตนเองได้


                    ตามมาตรา 57 วรรคสอง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ประกอบคำาพิพากษา
             ศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 1025/2556 ซึ่งศาลได้วินิจฉัยเกี่ยวกับบทบัญญัติในมาตรา 57

             วรรคสองว่า “บทบัญญัติในส่วนนี้เป็นการกำาหนดหน้าที่ของรัฐหรือขั้นตอนที่สำาคัญของ...การวางผังเมือง

             การกำาหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินและการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำาคัญของประชาชน

             ด้วยการบังคับให้รัฐต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำาเนินการ
             ดังกล่าว ซึ่งหลักการดังกล่าวได้เริ่มมีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยมี

             เจตนารมณ์ที่จะรับรองสิทธิของประชาชนให้มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึงและใช้สิทธิได้

             โดยถูกต้องกับความเป็นจริง เกี่ยวกับการที่รัฐจะจัดให้มีการดำาเนินการต่างๆ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อ
             ส่วนได้เสียสำาคัญของประชาชน...”


                    “การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และที่ 2 ยังมิได้จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่าง

             ทั่วถึง เป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำาหนดให้ต้องปฏิบัติ”

                    ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 57 วรรคสอง

             ซึ่งได้กำาหนดให้การกำาหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น
             ของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำาเนินการ ประกอบประเด็นคำาวินิจฉัยในคดีข้างต้นสามารถเทียบเคียง

             ได้กับกระบวนการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในกรณีการจัดทำาผังเมือง ซึ่งต้องจัดให้มีการรับฟัง

             ความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการวางและจัดทำาผังเมือง




                                                           203
   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209