Page 199 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 199

สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ



            แนะแนวทางพัฒนาโครงสร้างและกระบวนการผังเมือง มีความเกี่ยวข้องกับการจัดทำานโยบายและแผนระดับ

            ต่างๆ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภาค ระดับจังหวัด และระดับกลุ่มพื้นที่ ซึ่งจะมีผลต่อการนำามากำาหนด

            การใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลกระทบต่อชุมชน

                    ดังนั้น การที่จะให้ผังเมืองมีผลต่อการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน

            จึงต้องเริ่มต้นจากการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และการมีส่วนร่วมในแผนและผังระดับนโยบาย เพื่อที่ชุมชน

            จะมีส่วนร่วมในระดับ “ต้นนำ้า” คือ มีส่วนร่วมกำาหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ตั้งแต่ระดับนโยบาย
            และเนื่องด้วยการกำาหนดนโยบายมีหลายสาขาที่ไม่มีความสอดคล้องกัน จึงควรให้มีการดำาเนินการ

            ประเมินผลกระทบระดับยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ โดยบูรณาการแผนยุทธศาสตร์ นโยบาย ที่จะมีการใช้

            ประโยชน์พื้นที่ เพื่อรวบรวมนำามาประเมินผลกระทบ และกำาหนดทางเลือกด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม
            ทุกขั้นตอน และในการดำาเนินการทบทวนผังระดับนโยบาย ผังเมืองรวมจังหวัดและผังเมืองรวมชุมชนนั้น

            จะต้องมีการให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกขั้นตอน ที่สามารถเข้าใจถึงเหตุและผล

            ที่มาของข้อมูลในการกำาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและทิศทางการพัฒนา การจัดทำาข้อกำาหนด
            การใช้ประโยชน์พื้นที่ที่จะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมของชุมชน


                    การวิเคราะห์ผลกระทบต่อชุมชนส่วนใหญ่เป็นการจัดทำาข้อกำาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่
            สีเขียว ซึ่งมีการนำาไปสู่การปฏิบัติที่มีมาตรฐานต่างกันในบางพื้นที่ ประกอบกับผังเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ

            การวิเคราะห์หลายสาขาที่ต้องบูรณาการ เพื่อกำาหนดการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมและประชาชนไม่ได้รับ

            การชี้แจงให้เข้าใจ จึงมีการกำาหนดการใช้ประโยชน์ที่ไม่สอดคล้องกับพื้นที่ ดังนั้น การปรับปรุงมาตรฐาน

            ผังเมือง ในบางกิจกรรมที่มีผลกระทบต่างกันโดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการมีส่วนร่วม
            ของประชาชน จะทำาให้มาตรฐานผังเมืองและการกำาหนดกิจกรรมบางประเภทที่มีผลกระทบต่างกัน อาทิเช่น

            กิจการพลังงาน กิจการกำาจัดขยะและของเสีย มีความชัดเจน และมีการกำาหนดการใช้ที่ดินในบริเวณที่

            เหมาะสมร่วมกัน

                    ปัญหาของช่วงเวลาที่ผังเมืองหมดอายุการบังคับใช้และผังเมืองที่ผ่านการรับฟังและได้รับ

            ความเห็นชอบแล้ว แต่อยู่ระหว่างการรอประกาศใช้บังคับตามกฎหมาย ทำาให้เกิดช่องว่างที่มีการขออนุญาต

            ทำากิจกรรมที่เป็นข้อห้ามและขัดกับสาระสำาคัญของผัง จึงควรนำาสาระของผังเมืองรวมที่ผ่านการรับฟัง
            ความคิดเห็นของประชาชน และผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการผังเมือง มาประกอบดุลพินิจ

            ในการพิจารณารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการพิจารณาอนุมัติอนุญาต ให้เกิดการคุ้มครอง

            ล่วงหน้าและป้องกันผลกระทบต่อชุมชนได้อย่างรอบคอบครบถ้วนมากขึ้น รวมทั้งการใช้พระราชบัญญัติ
            การผังเมือง มาตรา 15 (3) และการนำาสาระของข้อกำาหนดผังเมืองไปใช้ในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น

            ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม

                    กรณีความล่าช้าของผังเมืองที่กระทบต่อชุมชนและสิทธิชุมชน เนื่องจากใช้เวลานานมากในช่วง

            จากการตรวจของสำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงควรมีการพิจารณาปรับปรุง พัฒนาศักยภาพและ





                                                          198
   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204