Page 203 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 203
สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ทั้งนี้ การที่ประชาชนจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น
ประชาชนจำาเป็นต้องมีความเข้าใจในร่างผังเมืองดังกล่าว รวมทั้งทราบถึงสิทธิและผลกระทบของการวาง
ผังเมืองที่มีต่อตนเองและชุมชน เช่น เข้าใจข้อกำาหนดในการใช้ประโยชน์ที่ดินในแต่ละบริเวณของผัง
ซึ่งหมายความรวมถึงกิจการที่สามารถดำาเนินการได้และกิจการที่ห้ามดำาเนินการในพื้นที่ เป็นต้น
ประเด็นปัญหาในการใช้สิทธิของประชาชนเพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการวางผังเมือง ปรากฏ
ใน 2 ลักษณะ คือ
1) ประชาชนไม่ทราบข้อมูลว่ามีการจัดทำาผังเมืองในพื้นที่ จึงไม่ได้ใช้สิทธิเพื่อมีส่วนร่วมใน
กระบวนการดังกล่าว โดยอาจมีสาเหตุมาจากการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ทั่วถึงหรือช่องทางใน
การสื่อสารประชาสัมพันธ์ไม่เหมาะสมกับลักษณะวิถีการดำาเนินชีวิตของประชาชนในแต่ละพื้นที่
ซึ่งแตกต่างกัน
2) ประชาชนไม่สามารถทำาความเข้าใจร่างผังเมืองที่มีการปิดประกาศได้ เนื่องจากร่างผังเมือง
ที่นำามาปิดประกาศ มีข้อมูลทางเทคนิคเฉพาะ และจำาต้องพิจารณาทั้งตัวผังและข้อกำาหนด
ซึ่งในบางพื้นที่มีการปิดประกาศเฉพาะตัวผัง โดยไม่ได้ปิดประกาศข้อกำาหนด จึงส่งผล
ให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผังเมืองที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 57 ได้บัญญัติรับรองให้บุคคล
มีสิทธิได้รับข้อมูล คำาชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐ ก่อนการอนุญาตหรือการดำาเนินโครงการหรือ
กิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำาคัญ
อื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อนำาไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
ระเบียบสำานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นประชาชน พ.ศ. 2548 ข้อ 8 กำาหนดว่า
ในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หน่วยงานของรัฐต้องมุ่งให้ประชาชนมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ
โครงการของรัฐ และรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อโครงการนั้น รวมตลอดทั้งความเดือดร้อน
หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนด้วย
สิทธิในข้อมูลข่าวสารตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ประกอบ
กับระเบียบสำานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 ดังกล่าว
เป็นหลักประกันสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนเกี่ยวกับการดำาเนินโครงการหรือกิจกรรม
ที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตหรือส่วนได้เสียของตนหรือชุมชน ซึ่งการจัดทำา
ผังเมืองถือเป็นลักษณะของการดำาเนินกิจกรรมดังกล่าว ดังนั้น การดำาเนินการเพื่อให้มีการวางหรือ
จัดทำาผังเมือง จึงต้องมีกระบวนการที่สามารถทำาให้ประชาชนรับทราบข้อมูลในการจัดทำาในแต่ละขั้นตอน
ได้โดยง่าย สามารถอ่านทำาความเข้าใจผังเมืองและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวาง
202