Page 200 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 200
ผังเมืองกับก�รคุ้มครองสิทธิชุมชน
และสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
ขยายอัตรากำาลังในหน่วยงานดังกล่าว รวมทั้งพิจารณาการขยายหน่วยงานในภูมิภาค เนื่องด้วยผังเมือง
เป็นกฎกระทรวงที่ใช้บังคับเฉพาะพื้นที่
ปัจจุบัน โครงสร้างการพิจารณาและตัดสินใจผังเมือง คือกรรมการผังเมือง ซึ่งเป็นการตัดสินใจจาก
ส่วนกลาง มาตรการบังคับใช้และการพิจารณาอนุญาต การปฏิบัติต่างๆ อยู่ในพื้นที่ จึงควรมีการกระจาย
อำานาจการตัดสินใจผังเมืองในระดับจังหวัดและระดับชุมชน โดยมีโครงสร้างกรรมการแต่ละดับที่มาจาก
ทุกภาคส่วน และชุมชนในพื้นที่วางผังควรมีอำานาจในการตัดสินใจด้วย ซึ่งในการนี้ จำาเป็นต้องปรับปรุง
พระราชบัญญัติการผังเมือง รวมถึงการปรับปรุง เพื่อให้มีผังเมืองที่ไม่เกิด “ช่องว่าง” ในการควบคุมการใช้
ประโยชน์ที่ดินและการพัฒนาไม่ให้กระทบกับชุมชนและส่งเสริมต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนและ
ชุมชนด้วย
นอกจากนี้ ผังเมืองในระดับต่างๆ มีสาระสำาคัญที่ครอบคลุมการพัฒนาหลายด้านและกำาหนดการใช้
ประโยชน์ที่ดิน แต่ในหลายพื้นที่มีการพัฒนาที่มีผลกระทบและขัดกับสาระสำาคัญของผัง จึงควรนำาสาระ
ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินไปประกอบการประเมินผลกระทบระดับยุทธศาสตร์ ด้วยการมีส่วนร่วมก่อน
การให้สัมปทานในกิจการบางประเภท เช่น เหมืองแร่และกิจการสำารวจขุดเจาะพลังงาน ทั้งนี้ ควรมี
การปรับปรุงกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยเช่น พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 และพระราชบัญญัติปิโตรเลียม
พ.ศ. 2514 และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพในทุกขั้นตอนกระบวนการสื่อสารสาธารณะที่เข้าใจ
และเข้าถึงได้ง่าย การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารรวมทั้งมีปรับปรุงกระบวนการ กลไกและขั้นตอนการมีส่วนร่วม
ให้มีระยะเวลาที่เหมาะสมและชัดเจน รวมทั้งการกระจายอำานาจการตัดสินใจด้วยการมีส่วนร่วมในระดับ
ชุมชน และการปรับปรุงกฎหมายบางฉบับดังกล่าวข้างต้น จะช่วยให้ผังเมืองเป็นไปเพื่อการคุ้มครองสิทธิชุมชน
และสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งในกระบวนการผังเมืองและการนำาผังเมืองไปใช้ประโยชน์ใน
การพัฒนา การพิจารณาอนุมัติ อนุญาต และจัดทำามาตรการคุ้มครอง มิให้มีการพัฒนาที่ส่งผลกระทบ
ต่อชุมชน นำาไปสู่การพัฒนาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมของชุมชน ด้วยการมี
ส่วนร่วมของชุมชน
199