Page 231 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 231

ผู้ร้องและพวกนําเจ้าหน้าที่รังวัดเข้ารังวัดที่ดินที่มี ส.ค.1 หรือ น.ส.2 เพื่อขอออกโฉนดที่ดิน
                       กํานันผู้ใหญ่บ้านไม่เซ็นรับรองแนวเขตให้ผู้ร้องและพวกเพราะเป็นที่สาธารณประโยชน์และไม่ทราบ
                       แนวเขตที่แน่นอน

                              ผู้ใหญ่บ้านทําหนังสือถึงอําเภอเพื่อมีหนังสือให้สํานักงานปฏิรูปที่ดินฯ รังวัดตรวจสอบ
                       ช่างรังวัดสํารวจแนวเขตตามแผนที่ของสํานักงานปฏิรูปที่ดินฯ และช่างบอกว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์
                       พร้อมทําบันทึกให้กรรมการช่วยดูแลรักษาที่สาธารณะ อําเภอสอบข้อเท็จจริงจากกํานัน ๆ บอกว่าตรงนี้

                       ไม่ใช่ที่สาธารณประโยชน์ สํานักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดประสานสํานักงาน ธนารักษ์พื้นที่ สํานักงานที่จังหวัด
                       สํานักงานที่ดินอําเภอ ต่างตรวจสอบแล้วเห็นว่า ที่พิพาทเป็นที่ราบลุ่มใช้ประโยชน์ เป็นที่นาไม่ใช่ที่ราชพัสดุ
                       ไม่ได้ขึ้นทะเบียนหรือออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงแต่อย่างใด”

                              “ที่สาธารณประโยชน์หนองขอน จังหวัดยโสธร : 1. ที่ดินที่ตั้งหมู่บ้านมีการครอบครองทําประโยชน์
                       และเสียภาษีบํารุงท้องที่ก่อนปี พ.ศ. 2500 ตามหลักฐาน ภ.บ.ท.5 และ ภ.บ.ท.6 ช่วงเวลาประมาณ
                       ก่อนปี 2500 มีการขึ้นทะเบียนหนองนํ้าสาธารณะของหมู่บ้านชื่อ “ หนองขอน ” เนื้อที่ 770 ตารางวา

                              พ.ศ. 2520 ผู้ปกครองท้องถิ่นมีแนวคิดในการจัดหาพื้นที่สาธารณประโยชน์เพื่อเอาไว้ใน
                       ประโยชน์ร่วมกัน
                              พ.ศ. 2533 สภาตําบลยื่นคําขอออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวง กรมที่ดินเข้ารังวัดที่ดินที่เคย

                       ขึ้นทะเบียนไว้ได้พื้นที่ 533 - 1 - 27.9 ไร่ทับที่ทํากิน กลุ่มชาวบ้านคัดค้าน
                              พ.ศ. 2546 องค์การบริหารส่วนตําบลดําเนินการขอออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงอีกครั้ง
                       ชาวบ้านคัดค้าน

                              จังหวัดมีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงสรุปความว่าน่าจะเป็นการรังวัดและ
                       คํานวณเนื้อที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากมีการคัดลอกทางทะเบียนผิดพลาด  และให้อําเภอนําผลการ
                       สอบสวนข้อเท็จจริงประกอบการดําเนินการรังวัดกําหนดแนวเขตที่สาธารณประโยชน์เพื่อออกหนังสือ

                       สําคัญสําหรับที่หลวงและกันพื้นที่ส่วนเกินให้กับราษฎรไปดําเนินการออกเอกสารสิทธิ อําเภอเห็นชอบ
                       ตามความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบฯ”
                                                   ่
                              “ ที่สาธารณประโยชน์โคกปากุง จังหวัดขอนแก่น : ที่ดินได้รับการจัดสรรที่ทํากินและที่อยู่จากนิคม
                       สร้างตนเอง มีหลักฐานโฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส.3 ก) หนังสือแสดงการทํา
                       ประโยชน์ (น.ค.3) บางรายไม่มีหลักฐาน ที่สาธารณประโยชน์ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2492 เนื้อที่ 1,500 ไร่
                       ใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์

                              พ.ศ. 2545 อําเภอรังวัดสอบเขตเพื่อออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงคลาดเคลื่อนไม่ตรงตาม
                       ทะเบียนทับที่ทํากินชาวบ้าน และในการรังวัดปรากฏสําเนาแผนที่ภาพถ่ายไม่ได้ระบุขอบเขต ประกอบ

                       มีชาวบ้านอาศัยอยู่เป็นจํานวนมาก จึงไม่สามารถรังวัดได้ กํานันบอกชาวบ้านในที่พิพาทว่าเป็นการ
                       สํารวจพื้นที่นํ้าท่วมหรือเขตชลประทาน ทําให้ชาวบ้านไม่คัดค้านขณะทําการรังวัด
                              พ.ศ. 2546 อําเภอมีคําสั่งแต่งตั้งคณะทํางานกําหนดเขต นําชี้เขต และลงลายมือชื่อรับรอง
                       เขตที่ดินฯ โดยกํานันได้รับแต่งตั้งเป็นคณะทํางานและผู้นําชี้แนวเขต





                                                                                                      6‐22
   226   227   228   229   230   231   232   233   234   235   236