Page 235 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 235
เลขที่ 230 เนื้อที่ 27 ไร่ แปลงที่ 2 เป็นที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิเข้าครอบครองทําประโยชน์ พ.ศ. 2509
ขอออกเอกสารสิทธิเมื่อ พ.ศ. 2524 เป็น น.ส.3 ก เลขที่ 120 เนื้อที่ประมาณ 37 ไร่ ขายต่อแก่บุคคลอื่น
26 พฤศจิกายน 2516 กระทรวงมหาดไทยมีคําสั่งให้อําเภอเป็นผู้ขอออกหนังสือสําคัญสําหรับ
ที่หลวง จํานวน 15 ไร่ ตามที่สงวนไว้เป็นที่สาธารณประโยชน์ของหมู่บ้านเมื่อ พ.ศ. 2535
5 ธันวาคม 2547 ผู้ใหญ่บ้านนํารังวัดเพื่อออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงโดยไม่แจ้งเจ้าของ
ที่ดินข้างเคียงทราบก่อน ได้เนื้อที่ 36 ไร่ รุกลํ้าที่ทํากินผู้ร้องแปลงที่ 1 21 ไร่ ผู้ร้องคัดค้าน เจ้าหน้าที่
ที่ดินจังหวัดไม่ได้ขอความเห็นไปให้สภาตําบลหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นนัดประชุมหรือ
ให้ความเห็นโดยให้ชาวบ้าน ผู้นําชุมชนฯ เข้ามีส่วนร่วมตัดสินใจ ที่ดินจังหวัดและอําเภอตรวจสอบ
ความว่าผู้ร้องครอบครองทําประโยชน์ในที่สาธารณประโยชน์ โดยนําที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 230 ไปขอ
เปลี่ยนเป็น น.ส.3 ก เลขที่ 120 เนื้อที่ 37 ไร่ และแบ่งขายให้บุคคลภายนอก 2 แปลง คือ น.ส.3 ก
เลขที่ 120 และ 121 แต่ที่ดิน น.ส.3 ก เลขที่ 120 และ121 ไม่มีในสารบบ”
“ที่สาธารณประโยชน์ทุ่งคลองปุด ทุ่งหาดทรายขาวและทุ่งบ่อนิง จังหวัดนครศรีธรรมราช :
ที่ดินพิพาทมีการครอบครองทําประโยชน์ มีใบเหยียบยํ่า แบบแจ้งการครอบครอง ส.ค.1,หนังสือรับรอง
การทําประโยชน์ น.ส.3 และน.ส.3 ก ประชาชนอาศัย 900 กว่าครัวเรือน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ฯ
ขอใช้ที่ดินสาธารณ ประโยชน์ ขอออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงทุ่งคลองปุดฯ เดิมมีเนื้อที่ 7,723 ไร่
ออก นสล. ได้เนื้อที่ 10,560 ไร่เศษ ต่อมาขอออก นสล. อีก 1 แปลงได้เนื้อที่ 775 ไร่รวมเนื้อที่ทั้งหมด
11,335 ไร่เศษ ขอออก นสล. เพิ่มอีก 1 แปลงในที่สาธารณะประโยชน์ทุ่งบ้านไผ่ เดิมสงวนไว้ในเนื้อที่
1,681 ไร่ ออก นสล. เนื้อที่ 1,911 ไร่เศษ รวมเนื้อที่ที่มหาวิทยาลัยขอใช้ทั้งหมด 13,346 ไร่เศษ
ทับซ้อนที่พิพาท กํานันและผู้ใหญ่บ้านลงลายมือชื่อรับรองแนวเขต ชาวบ้านคัดค้านว่ามีการขยาย
ขอบเขตที่สาธารณประโยชน์เกินความเป็นจริง
เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยฯ และพวกบุกรุกนํากําลังพร้อมรถแบ็คโฮไถทําลายต้นยางพาราและ
ั
ไม้ผลของชาวบ้าน หลายครั้งต่อเนื่องโดยไม่ฟงคําทักท้วงจากผู้เสียหาย เจ้าหน้าที่ สปก. และ
เจ้าหน้าที่ตํารวจ
เกิดกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ผู้ถือครองที่พิพาทเดิม ไม่ยินยอมอพยพ
้
ถูกมหาวิทยาลัยฯ ฟองขับไล่ คดีชั้นอุทธรณ์ กลุ่มที่ 2 ผู้ถือครองที่ดินเดิม(อีกพื้นที่) มีหลักฐาน
ใบเหยียบยํ่า, ส.ค.1, ภ.บ.ท.6 ถูกประกาศเขตปฏิรูปทับซ้อนจากการที่มหาวิทยาลัยฯ นําที่ดิน
ั
ไปจัดสรรเพื่อการแก้ปญหา จัดตั้งชุมชนสาธิตฯ ชาวบ้านเสียสิทธิในที่ดิน ถูกข่มขู่ กลุ่มที่ 3 ยินยอมรับ
สิทธิตาม สปก. และอพยพเข้ามาอยู่ในแปลงชุมชนสาธิตฯ โดยมีทั้งกลุ่มที่ชาวบ้านในพื้นที่เดิม
ให้ความยินยอมและไม่ให้ความยินยอม เข้าทําประโยชน์ในพื้นที่
สภาตําบลยืนยันถึงความเป็นที่สาธารณประโยชน์ โดยไม่มีการตรวจสอบ อําเภอทราบความเดือดร้อน
ไม่ดําเนินการใด เจ้าหน้าที่ตํารวจทราบความ ไม่ดําเนินการคุ้มครองทางคดี กระทรวงมหาดไทย
ั
คณะอนุกรรมการแก้ไขปญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐระดับจังหวัดยืนยันความถูกต้องของขอบเขตที่ดิน
สาธารณประโยชน์ โดยไม่ยอมให้ดําเนินการตรวจสอบใหม่ มหาวิทยาลัยฯ จัดสรรที่ดินร่วมกับ
6‐26