Page 234 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 234

พ.ศ. 2534 - 2550 รัฐบาลมีนโยบายไม่ให้มีการจัดเก็บภาษีบํารุงท้องที่กับผู้ที่ครอบครองทําประโยชน์
                       บนพื้นที่สาธารณประโยชน์ ทุนนอกพื้นที่ปลูกปาล์มนํ้ามันไม่คุ้มทุนจึงขายที่สาธารณประโยชน์ที่ครอบครอง
                       ให้แก่บุคคลอื่น

                              พ.ศ. 2539 องค์การบริหารส่วนตําบลตั้งขึ้น ชาวบ้านและนายทุนที่ครอบครองทําประโยชน์
                       ในที่สาธารณประโยชน์ชําระภาษีบํารุงท้องที่แก่องค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2541 - 2550 องค์การ
                       บริหารส่วนตําบลยกเลิกการจัดเก็บภาษีบํารุงท้องที่สําหรับที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ

                              กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ทุนนอกพื้นที่ขายที่สาธารณประโยชน์ส่วนจัดกิจกรรมให้บุคคลอื่น
                                                                       ั
                       รวม 3 ราย ผู้ซื้อทั้ง 3 ราย จ้างคนงานเข้าไปแผ้วถาง ตัดฟนถอน และฉีดยาปราบศัตรูพืช ทําให้ต้นไม้
                       ในโครงการได้รับความเสียหาย
                                               ั
                              หน่วยงานรัฐแก้ไขปญหาโดย 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการโครงการพัฒนา
                       ศักยภาพคนและชุมชนฯ ร่วมกับชาวบ้านประมาณ 600 คน ใช้ที่สาธารณประโยชน์ทั้งสองแปลง
                                                                  ั
                       จัดกิจกรรมปลูกไม้ใช้หนี้เฉลิมพระเกียรติเพื่อแก้ไขปญหาการบุกรุกที่ดินสาธารณะทั้งสองแปลง
                              พ.ศ. 2550 สํานักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดมีหนังสือถึงองค์การบริหารส่วนตําบล ตามมติ
                       คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ครั้งที่ 1/2549 อนุมัติแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการ
                       ตัดที่ดินของรัฐ โดยให้องค์การบริหารส่วนตําบลมีส่วนร่วมในการสํารวจที่ดินของรัฐมาดําเนินการ

                       ปฏิรูป สํานักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดจึงกําหนดแผนงานดําเนินการในที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ราษฎร
                       บุกรุกเข้าทําเกษตรเป็นการถาวร ไม่มีสภาพการใช้ประโยชน์ร่วมกันนํามาปฏิรูปที่ดินให้เกษตรกร
                                                                        ั
                       ได้มีที่ดินทํากินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตามนโยบายแก้ปญหาเรื่องที่ดินทํากินของรัฐบาล
                              พ.ศ. 2551 องค์การบริหารส่วนตําบลมีหนังสือถึงผู้ใหญ่บ้าน เพื่อขอความร่วมมือให้ตรวจสอบข้อมูล
                       ที่ดินสาธารณประโยชน์ ผู้ใหญ่บ้านแจ้งข้อมูลที่ดินสาธารณประโยชน์ทุ่งสะพานยาวราษฎรเลิกใช้
                       ประโยชน์ร่วมกันประมาณ 800 ไร่

                              กรกฎาคม 2551 กรณีนายทุนบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ประกอบพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่หลบซ่อนตัว
                       ของผู้ไม่ประสงค์ดีจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ อําเภอตรวจสอบข้อเท็จจริง/
                       สืบสวนจากผู้ปกครองท้องที่เห็นว่า มีมูลมอบหมายให้ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านร้องทุกข์

                       กล่าวโทษเพื่อดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิด ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย
                       แต่ทั้งผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านไม่กล้าไปแจ้งความเนื่องจากเกรงอันตรายจะเกิดแก่ชีวิตเพราะ
                       อิทธิพลของนายทุน
                                                                                          ั
                              อําเภอและจังหวัดเห็นว่าการบุกรุกกระทํามา 3 ช่วงและเป็นที่น่าเห็นใจผู้ซื้อปจจุบันเพราะไม่ทราบ
                                                  ่
                       ข้อมูลของที่ดินเพราะที่ดินติดเขตปาสงวนจํานวนมากมีแต่หลักฐาน ส.ค.1 และ ภ.บ.ท.5 ไม่อาจออกโฉนด
                                                 ั
                       ได้เกือบทุกหมู่บ้าน ควรแก้ไขปญหาการบุกรุกโดยจัดทําโครงการบริการจัดการใช้ประโยชน์เพื่อแก้ไข
                        ั
                       ปญหาความยากจนและพัฒนาให้ราษฎรเช่าทํากิน”
                              “ที่สาธารณประโยชน์แปลงหนองเหลา จังหวัดอุบลราชธานี : ผู้ร้องมีที่ดิน 2 แปลง แปลงที่ 1
                                                                 ั
                       เข้าครอบครองทําประโยชน์ตั้งแต่ พ.ศ. 2509 ถึงปจจุบัน มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์  น.ส.3




                                                                                                      6‐25
   229   230   231   232   233   234   235   236   237   238   239