Page 230 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 230

พ.ศ. 2544 จังหวัดมีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนการบุกรุกที่หรือทางสาธารณประโยชน์
                       ตรวจสอบแล้วมีความเห็นว่าที่ดินแปลงนี้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นหนองสาธารณะ  จังหวัด
                                                             ั
                       เสนอเรื่องให้คณะอนุกรรมการประสานแก้ไขปญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐระดับจังหวัด พิจารณาและ
                                                                                   ่
                                                             ่
                       มีมติเห็นควรใช้ภาพถ่ายทางอากาศเนื่องจากฝายหนึ่งมีข้อเท็จจริงกับอีกฝายมีเอกสารสิทธิ
                              พ.ศ. 2545 จังหวัดดําเนินการจัดซื้อภาพถ่ายทางอากาศและส่งให้คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ
                       เพื่ออ่านภาพถ่ายทางอากาศ อ่าน แปล และตีความ แปลสรุปได้ว่าบริเวณที่สาธารณประโยชน์มีสภาพ
                                                             ่
                       เป็นหนอง รอบหนองและลําห้วยมีสภาพเป็นปาพรุ บริเวณใกล้เคียงสภาพโดยทั่วไปมีการประโยชน์
                       ทํานา
                                                           ั
                              คณะอนุกรรมการประสานแก้ไขปญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐระดับจังหวัด มีมติให้จังหวัด
                       ดําเนินการออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวง และให้เพิกถอน น.ส.3 เฉพาะส่วนที่ซ้อนทับ”
                              “ที่สาธารณประโยชน์ดอนนํ้าครํ่า จังหวัดอํานาจเจริญ : ผู้ปกครองท้องที่นํารังวัดออกหนังสือสําคัญ
                       สําหรับที่หลวงทับที่ทํากินผู้ร้อง (ไม่มีเอกสารสิทธิ) ในการประชาคมหมู่บ้าน ผู้ร้องและพวกไม่ทราบเรื่อง

                       และไม่ได้เข้าร่วม แต่เมื่อตรวจสอบพบลายมือชื่อของผู้ร้องและพวกในเอกสารการประชาคม ทราบจาก
                       ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านว่ากํานันเป็นคนสั่งให้เขียน
                              คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดําเนินการตรวจสอบมีมติว่า ผู้ร้องไม่ได้รับความเป็นธรรม

                       เนื่องจากการจัดทํารูปแผนที่แนบท้ายหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงไม่ได้มีการตรวจสอบความถูกต้อง
                       และการจัดหาที่ดินเพื่อสร้างถนนที่ราชการไม่มีการตรวจสอบแนวเขตที่ดินให้ชัดเจน ไม่ดําเนินการขออนุญาต
                       ใช้พื้นที่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมกําหนดมาตรการแก้ไข
                                          ั
                              การปฏิบัติต่อปญหาหลังคณะกรรมการสิทธิฯ มีมาตรการแก้ไข
                              1. เจ้าพนักงานที่ดินดําเนินการรังวัดตามคําขอของอําเภอโดยมีมติของสภาตําบลประกอบ
                       รังวัดโดยมีผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดร่วมสังเกตการณ์ จ่าจังหวัด กํานันและอดีตผู้ใหญ่บ้าน

                       ร่วมชี้แนวเขต เพื่อออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงผืนใหม่ในที่พิพาทอีก ผู้ร้องคัดค้านแต่ไม่เป็นผล
                              2. ผู้ร้องทําหนังสือถึงอําเภอให้ระงับการออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงและให้ตรวจสอบ
                       รายชื่อว่ามีการปลอมลายมือชื่อหรือไม่

                              3. อําเภอให้ไปคัดค้านที่สํานักงานที่ดิน
                              4. กรมที่ดินมีหนังสือแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดให้ชะลอการออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวง
                       จนกว่าผู้ร้องจะได้รับการเยียวยาและเร่งกําหนดค่าทดแทนที่ดิน ค่าชดเชย และค่าเสียโอกาสให้แน่ชัด”

                              “ที่สาธารณประโยชน์หนองโคกไพล จังหวัดสระแก้ว : ที่ดินมีแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน
                       ส.ค.1 ใบเสียภาษีบํารุงท้องที่ ภ.บ.ท.5, ภ.บ.ท.6 ครอบครองทําประโยชน์ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 - 2546

                       ทางราชการมีหนังสือแจ้งให้กํานัน ผู้ใหญ่บ้านสํารวจการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ พบที่ของผู้ร้องและ
                       พวกรุกลํ้า และแจ้งให้ผู้ร้องและพวกทราบ องค์การบริหารส่วนตําบลขุดคูทําแนวกันหนองอ้างเป็นที่
                       สาธารณประโยชน์ ห้ามชาวบ้านเข้าทํากิน







                                                                                                      6‐21
   225   226   227   228   229   230   231   232   233   234   235