Page 232 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 232
พ.ศ. 2547 อําเภอจัดประชุมผู้คัดค้านการกําหนดเขต ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ให้มีการ
ั
ออกรังวัดที่ดินเพื่อให้สามารถดําเนินการออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงในส่วนที่ไม่มีปญหาก่อน
พ.ศ. 2548 อําเภอจัดประชุมคณะทํางานฯ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของรูปแผนที่ ที่ประชุม
มีมติเสียงข้างมากให้การรับรองรูปแผนที่
ผู้ร้องและพวกเห็นว่าคณะทํางานไม่มีผู้ทราบข้อเท็จจริงประวัติพื้นที่และไม่เป็นกลาง
จึงคัดค้าน”
“ที่สาธารณประโยชน์ชายทะเลบ้านพุน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ : ที่ดินชายทะเลห่างทะเล
40 เมตร มีหนังสือรับรองการทําประโยชน์ แบ่งขายเมื่อปี 2505 ต่อมาได้ออกโฉนดแบ่งแยกแปลง
นําออกขายเปลี่ยนมือ
พ.ศ. 2516 - 2520 มีการตัดถนนเลียบชายหาด กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านร่วมกันปลูกต้นสน
ตลอดแนวเพื่อแสดงอาณาเขตของที่สาธารณะประโยชน์ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดิน
มีโฉนดแบ่งแยกบางแปลงชุมชนยืนยันว่าเป็นที่ดินในที่สงวนหวงห้ามเพื่อให้พลเมืองใช้ร่วมกัน
บางแปลงอดีตกํานันปฏิเสธว่าไม่เคยลงลายมือชื่อในฐานะเจ้าพนักงานปกครองท้องที่ในใบไต่สวน
ขอออกโฉนดที่ดิน และลายเซ็นที่ปรากฏก็ไม่ใช่ลายเซ็นตน
พ.ศ. 2546 เจ้าของที่ดินที่รุกลํ้า ยื่นคําร้องขออนุญาตก่อสร้างอาคารบนที่ดินต่อองค์การ
บริหารส่วนตําบล และได้เริ่มทําการก่อสร้างอาคาร
ชาวบ้านกว่า 800 คน ลงลายมือชื่อคัดค้าน เชื่อว่าเป็นที่สาธารณะ อดีตกํานันแจ้งความเรื่อง
ลายมือชื่อปลอม
พ.ศ. 2547 ตัวแทนชาวบ้านยื่นหนังสือต่อกิ่งอําเภอเรียกร้องให้ระงับการก่อสร้างอาคาร
จนกว่าการตรวจสอบที่สาธารณะจะสิ้นสุด และให้ตรวจสอบการออกโฉนดที่ดินบริเวณชายหาด
ทุกฉบับว่าออกโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
พ.ศ. 2548 ที่ดินจังหวัดตรวจสอบพบการออกหนังสือรับรองการทําประโยชน์และโฉนดที่ดิน
ชอบด้วยกฎหมาย และนอกจากที่ดินที่เป็นกรณีพิพาทแล้วไม่มีที่ดินแปลงใดเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน
และอยู่ติดริมชายหาด จังหวัดมีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีออกเอกสารสิทธิ
ทับที่สาธารณะ คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีออกเอกสารสิทธิทับที่สาธารณะพบมีที่ดิน
ติดทะเลตลอดแนว 1 แปลง นอกนั้นไม่พบว่ามีการออกโฉนดที่ดินรุกลํ้า องค์การบริหารส่วนตําบล
มีคําสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตการก่อสร้างอาคารเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2547 โดยให้เหตุผลว่า
มีราษฎรคัดค้านในเรื่องการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน ก่อสร้างอาคารผิดแบบ ก่อสร้างรั้วอาคารโดย
ไม่ได้รับอนุญาต
้
ผู้ขออนุญาตอุทธรณ์ คณะกรรมการฯ ยกอุทธรณ์ เจ้าของที่ดินฟองเพิกถอนคําสั่ง”
“ที่สาธารณประโยชน์คลองชายธง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ : ที่ดินสาธารณประโยชน์คลองชายธง
มีการขึ้นทะเบียนหวงห้ามตั้งแต่ พ.ศ. 2474 และขึ้นทะเบียนที่สาธารณประโยชน์ พ.ศ. 2481 ถูกบุกรุก
้
ตั้งแต่ปี 2538 รวมเนื้อที่การบุกรุกกว่า 70 ไร่ มีนายเจริญฯ เป็นแกนนําสําคัญทําการปกปองทรัพยากรท้องถิ่น
ต่อต้านการบุกรุก การออกโฉนดที่ดินในที่ดินสาธารณประโยชน์มาโดยตลอด
6‐23