Page 227 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 227
กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เจ้าหน้าที่ที่ดิน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านบางส่วนร่วมกันสํารวจและ
รังวัดที่ดินเพื่อออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงโดยไม่ปรากฏหลักฐานทางทะเบียนอาศัยเพียงบัญชี
สํารวจที่สาธารณ ประโยชน์และคํากล่าวอ้างของผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านบางคน โดยผู้ร้องไม่ทราบมาก่อน
จึงไม่ได้คัดค้าน
หลักเขตและแผนที่รังวัดทับซ้อนที่ทํากินของชาวบ้าน 21 ราย”
“ที่ดินสาธารณประโยชน์โคกหนองโพธิ์ จังหวัดลพบุรี : ที่พิพาทมีการครอบครองทําประโยชน์
มีแบบแจ้งการครอบครอง ส.ค.1 และหนังสือรับรองการทําประโยชน์ น.ส.3 แต่ไม่สามารถขอออกโฉนดได้
เนื่องจากทางราชการอ้างว่ายังไม่ได้เดินถึงเขตที่ดินตน
พ.ศ. 2523 สภาตําบลขับไล่ชาวบ้านออกจากที่พิพาททั้งหมดอ้างเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์
นําที่ดินไปปลูกยูคาลิปตัส ชาวบ้านกลัวอิทธิพลของกํานันจึงไม่ได้ร้องเรียน
พ.ศ. 2538 ผู้ว่าราชการจังหวัดและกรมที่ดินดําเนินการรังวัดออกหนังสือสําคัญสําหรับ
ที่หลวงทับที่ดินทํากินอ้างว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์โดยไม่ปรากฏหลักฐานทางทะเบียน มีเพียงคํา
กล่าวอ้างทางการไม่สามารถนําพยานหลักฐานมาอ้างได้ ต่อมา ชาวบ้านถูกขับไล่”
“ที่สาธารณประโยชน์ดงกอลอ จังหวัดมหาสารคาม : ที่ดินมีการครอบครองทําประโยชน์ตั้งแต่
ปี พ.ศ. 2458 ได้หลักฐานการครอบครอง ส.ค.1 มีการพัฒนาทรัพย์สินเป็นที่สวนไร่นา
พ.ศ. 2540 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับจังหวัดแจ้งว่าจะนําที่ทํากินของผู้ร้องและพวก
ซึ่งอ้างว่าอยู่ในที่ดินสาธารณประโยชน์ขึ้นทะเบียนไว้เมื่อ พ.ศ. 2473 เนื้อที่ 3,600 ไร่ แบ่งเป็น 3 แปลง ๆ
1 และ 2 ออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงแล้ว พิพาทแปลงที่ 3 เพื่อก่อสร้างสถานที่ราชการเป็นศูนย์
พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง ยังไม่ออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงเพราะมีผู้คัดค้าน
อําเภอและคณะกรรมการตรวจสอบโครงการและแผนผังการใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์
ตรวจสอบพบชาวบ้านเลิกใช้เพราะไม่มีหญ้าสําหรับเลี้ยงสัตว์ประกอบกับชาวบ้านประกอบอาชีพอื่น
่
และชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมใช้เครื่องอํานวยความสะดวกมากขึ้น จึงไม่มีการเก็บฟืน เก็บของปาอีกต่อไป
ไม่ตรงกับความจริงเพราะผู้ร้องและพวกยังครอบครองทําประโยชน์อยู่
เมษายน พ.ศ. 2542 กระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้กรมส่งเสริมการเกษตรใช้ที่พิพาท”
“ที่สาธารณประโยชน์ปากนํ้าปราณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ : ที่ดินอยู่อาศัยทํากินเป็นเวลา 80 ปี
ไม่มีเอกสารสิทธิ จังหวัดสั่งการให้องค์การบริหารส่วนตําบลจัดงบประมาณให้สํานักงานที่ดินจังหวัด/สาขา
เพื่อดําเนินการออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงในที่ดินแปลงดังกล่าว ชาวบ้านมีหลักฐานจากอดีต
ผู้ใหญ่บ้านที่คัดสําเนามาจากอําเภอ(เทียบประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2471
กับบันทึกการออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวง รังวัดวันที่ 11 มิถุนายน - 3 กรกฎาคม 2505) ซึ่งค้นจาก
ั
สํานักงานที่ดินจังหวัด/สาขาไม่ได้ในปจจุบัน พบรอยขีดฆ่าจํานวนเนื้อที่แต่ไม่มีลายมือชื่อกํากับ และ
ที่ตั้งที่พิพาทเป็นคนละหมู่
18 เมษายน พ.ศ. 2545 ผู้ใหญ่บ้านนํารังวัดโดยไม่มีการแจ้งให้ชาวบ้านทราบ ผลการรังวัดเนื้อที่
ที่พิพาทเพิ่มขึ้นจากทะเบียน จังหวัดดําเนินการสอบสวนแต่ไม่ได้สอบสวนชาวบ้านเจ้าของพื้นที่ และ
ให้นายอําเภอแจ้งสรุปการสอบสวนว่าที่พิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ยึดเนื้อที่และที่ตั้งตาม
6‐18