Page 144 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 144
่
ไม่ควรไปนิยามความหมายปาที่เป็นการรอนสิทธิของราษฎรและชุมชนที่ครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดิน
มาแต่เดิม
9. ควรทบทวนเพื่อปรับปรุงแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิ.ย. 2541 ซึ่งหน่วยงานด้าน
ั
่
ปาไม้ของกระทรวงทรัพยากรฯ ใช้เป็นแนวทางการทํางานจัดการปญหาพิพาทขัดแย้งกับราษฎรใน
่
ั
ท้องถิ่น เพราะตั้งแต่มีมติคณะรัฐมนตรีจนถึงปจจุบันเป็นเวลา 15 ปีแล้ว หน่วยงานปาไม้ก็ยัง
ตรวจสอบพิสูจน์สิทธิราษฎรไม่เสร็จ และพื้นที่ที่สํารวจมีข้อมูลชัดแจ้งแล้วก็ไม่มีกระบวนการเจรจา
่
คลี่คลายความขัดแย้งแต่อย่างใด หลายพื้นที่แม้จะพิสูจน์สิทธิว่ามีสิทธิมาก่อนประกาศเขตปาก็ยังถูก
จํากัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ถูกจํากัดการพัฒนา บ้างก็ยังถูกจับกุมและทําลายพืชผลอาสินเช่นการตัด
ั
ฟนต้นยางพารา สะท้อนให้เห็นว่าการดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิ.ย. 2541 ไม่ประสบ
ความสําเร็จหรืออาจกล่าวว่าล้มเหลวก็ว่าได้เพราะ ขาดการทํางานความต่อเนื่องให้เสร็จ และยังขาด
การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งและมีคุณภาพของผู้ที่เกี่ยวข้อง
การปรับแนวคิดเกี่ยวกับป่าและการจัดการป่า
นอกจากประเด็นทางนโยบายและกฎหมายแล้ว สังคมไทยควรจะเรียนรู้จากผลงานวิจัยรางวัล
ั
โนเบลของ อิลินอร์ ออสตรอม ที่เสนอว่าข้อจํากัดและปญหาไร้ประสิทธิภาพของของรัฐและเอกชนใน
การจัดการทรัพยากรส่วนรวมมีทางออกด้วยการให้สิทธิแก่ชุมชนได้ดูแลและจัดการใช้ประโยชน์
ร่วมกันด้วยกติกาที่ชุมชนตกลงกันเอง เป็นการจุดประกายแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมโลกได้เรียนรู้และมี
ั
่
ทางออกจากความขัดแย้ง ช่วยให้การจัดการจัดการปาและทรัพยากรธรรมชาติสอดคล้องกับปญหา
ความต้องการของราษฎรและสภาพทรัพยากรในท้องถิ่น ควรจะต้องสรุปผลงานของออสตรอมเผยแพร่
และสัมมนาให้ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติได้รับทราบเพื่อหาทางนํามาปรับใช้ทั้งทางนโยบายและ
มาตรการให้เข้ากับบริบทของสังคมไทย
่
ในการวางแผนและมาตรการจัดการปา ควรจะต้องทบทวนด้วยการเร่งรัดจําแนกเขตการใช้
่
ประโยชน์พื้นที่ปาให้ชัดเจน ควรนําแนวคิดการจัดการเขตกันชน (Buffer zone management) มา
่
ประกอบการกําหนดมาตรการใช้ประโยชน์ทรัพยากร แนวคิดเขตกันชนนี้ได้แบ่งพื้นที่ปาเป็นโซนตาม
่
ระดับความเข้มข้นของการใช้ประโยชน์ เช่นโซนแก่นกลาง เช่นบนเขาใหญ่หรือกลางปาห้วยขาแข้ง
่
่
เป็นโซนที่ต้องรักษาปาอย่างเข้มงวด อนุญาตให้ใช้ปาได้ทางการศึกษาวิจัยเพื่อรักษาธรรมชาติเท่านั้น
และโซนการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน เป็นโซนที่ถัดออกมาจากโซนแกนกลาง ซึ่งควรอนุญาตให้ใช้
ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจได้บนฐานจารีตประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นซึ่งอยู่บนหลักการ
เกื้อกูลต่อระบบนิเวศอยู่แล้ว และโซนเศรษฐกิจด้านนอก ซึ่งมีความเข้มงวดในการใช้ทรัพยากรตํ่า
สุดแต่ก็ต้องคํานึงถึงความสมดุลยั่งยืนของระบบนิเวศเช่นกัน
่
่
่
และเมื่อจําแนกเขตปาในระบบใหม่แล้ว การปลูกปาหรือฟื้นฟูปาก็ต้องพิจารณาความ
่
สอดคล้องกับระบบนิเวศเป็นสําคัญ ควรเน้นการฟื้นปาด้วยกระบวนการทางธรรมชาติ หรือช่วย
ั
ธรรมชาติให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น (Assisted natural regeneration) ในกรณีที่พื้นที่นั้น ๆ มีปญหาการฟื้นฟู
่
ตัวเองตามธรรมชาติ จึงควรจะต้องทบทวนโครงการปลูกปาขนาดใหญ่ทั้งหมดที่ทุ่มเทงบประมาณ
่
มากมายแต่ไม่ประสบความสําเร็จและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนให้ร่วมกันฟื้นปาด้วยกระบวนการ
ทางนิเวศตามธรรมชาติ
5‐72