Page 116 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 116

การสํารวจพื้นที่ครอบครองแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน
                                                                                        ่
                              มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3  เม.ย 2544  ให้ตั้งกรรมการร่วมระหว่างฝายรัฐและราษฎร ให้มี
                                                                                 ั
                       คณะกรรมการในจํานวนเท่ากัน เพื่อสํารวจพื้นที่ที่ครอบครอง แก้ไขปญหาของสมัชชาคนจน และให้
                       คณะกรรมการฯ สํารวจและพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดิน รวมทั้งปรับแนวเขตพื้นที่ให้สอดคล้องกับ
                       คามเป็นจริง
                              การฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล

                              มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 2 มิถุนายน 2553 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการแนวนโยบายในการ
                       ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ และมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนําแผนดังกล่าวไป
                       ปฏิบัติ ดังนี้

                              1. มาตรการฟื้นฟูระยะสั้น ดําเนินการภายใน 6 - 12 เดือน
                                 1.1 การสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย  ด้วยการจัดทําโฉนด ชุมชนเพื่อเป็นเขตสังคม

                       และวัฒนธรรมพิเศษสําหรับกลุ่มชาวเล  โดยให้มีการพิสูจน์สิทธิในที่อยู่อาศัยของชุมชนผ่านภาพถ่าย
                       ทางอากาศและด้วยวิธีอื่น  ๆ ที่ไม่ใช้เอกสารสิทธิแต่เพียงอย่างเดียว  และให้แต่งตั้งอนุกรรมการแก้ไข
                        ั
                       ปญหาที่ดินเพื่อการพิสูจน์ที่ดินชุมชนชาวเลเป็นการเฉพาะ
                                 1.2 การให้ชาวเลสามารถประกอบอาชีพประมง  หาทรัพยากรตามเกาะต่าง ๆ ได้  และ

                       เสนอผ่อนปรนพิเศษในการประกอบอาชีพประมงที่ใช้อุปกรณ์ดั้งเดิมของกลุ่มชาวเลในการเข้าไปทํามา
                       หากินในพื้นที่อุทยานและเขตอนุรักษ์อื่น   ๆ และกันพื้นที่จอด ซ่อมเรือ เส้นทางเข้า - ออกเรือ

                       เนื่องจากส่วนมากทับซ้อนพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว มีความขัดแย้งกันเป็นระยะ  รวมถึงการควบคุมเขต
                                                                                                  ั่
                       การทําประมงอวนลากและอวนรุนให้เป็นไปตามข้อตกลงอย่างแท้จริง (รุกลํ้าเขตประมงชายฝง)
                                 1.3 การช่วยเหลือด้านสาธารณสุขเพื่อฟื้นฟูสําหรับผู้ได้รับผลกระทบจากการประกอบ
                                                                  ั
                       อาชีพหาปลา/ดํานํ้าทําให้เกิดโรคนํ้าหนีบ และการมีปญหาด้านสุขภาพ
                                               ั
                                 1.4 การช่วยแก้ปญหาสัญชาติในกลุ่มชาวเลที่ไม่มีบัตรประชาชน
                                 1.5 การส่งเสริมด้านการศึกษาแก่เด็กและสนับสนุนทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับ

                       จัดตั้งการศึกษาพิเศษ/หลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน  เนื่องจากเด็กชาวเลออกจาก
                       โรงเรียนก่อนจบการศึกษาภาคบังคับ
                                           ั
                                 1.6 การแก้ปญหาอคติทางชาติพันธุ์และให้มองชาวเลอย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
                                 1.7 การส่งเสริมด้านภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวเลและสนับสนุนงบประมาณจัด
                       กิจกรรมต่อเนื่อง  เช่น ส่งเสริมให้มีโรงเรียนสอนภาษาวัฒนธรรมในชุมชน  ส่งเสริมให้มีการสอน
                       ศิลปวัฒนธรรมชาวเลในหลักสูตรสามัญส่งเสริมชมรมท้องถิ่นในโรงเรียน  เช่น ชมรมภาษา ชมรมร็องแง็ง

                       ส่งเสริมการใช้สื่อที่หลากหลาย สื่อบุคคล สื่อพื้นบ้าน สื่อสมัยใหม่ ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชน เป็นต้น
                                                                                                ั
                                 1.8 ชุมชนที่มีกลุ่มองค์กรที่เข้มแข็งอยู่แล้ว  ขอให้ภาครัฐดําเนินการแก้ไขปญหาต่าง ๆ
                       และส่งเสริมชุมชนให้เกิดกิจกรรมที่มีความต่อเนื่อง

                                 1.9 การจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการทํางานของเครือข่ายชาวเล  ให้เกิดขึ้นเป็น
                       รูปธรรมและให้มีงบประมาณส่งเสริม "วันนัดพบวัฒนธรรมชาวเล"  เพื่อจัดกิจกรรมและการพบปะ





                                                                                                      5‐44
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121