Page 99 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 99
ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธ์ุมักจะมีอัตลักษณ์ทางกายภาพและทางสังคม
เช่น ธรรมเนียมประเพณีการปฏิบัติในการดำารงชีพ หรือความเชื่อ
ทางศาสนา เป็นต้น แตกต่างจากประชากรกลุ่มใหญ่ ดังนั้นชนกลุ่มน้อย
จะเรียกร้องสิทธิที่จะดำารงรักษาอัตลักษณ์เหล่านั้น (ดู THE RIGHTS OF
MINORITY)
การเลือกปฏิบัติ การกีดกันการใช้สิทธิ อันมีสาเหตุมาจากความแตกต่าง
ทางอัตลักษณ์ ทำาให้ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธ์ุมีสิทธิด้อยกว่าประชากร
กลุ่มใหญ่ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ดีรัฐอาจมีมาตรการพิเศษ
ที่มุ่งส่งเสริมให้ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธ์ุได้มีสิทธิ และใช้สิทธิเท่าเทียม
กับประชากรส่วนใหญ่ เช่น การที่กฎหมายกำาหนดให้วิทยาลัยแพทย์
กำาหนดสัดส่วนขั้นต่ำาในการรับคนอเมริกาเชื้อสายแอฟริกาเข้าศึกษา ถือว่า
เป็นมาตรการเชิงยืนยันสิทธิ เป็นต้น
สิทธิของชนกลุ่มน้อยได้พัฒนาขึ้นจากกฎหมายภายในของประเทศ
ในยุโรป ต่อมาได้รับรองโดยกฎหมายระหว่างประเทศ และใน ค.ศ. 1992
(พ.ศ. 2535) สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ลงมติรับรอง “ปฏิญญาว่าด้วย
สิทธิของบุคคล ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยทางด้านเชื้อชาติ หรือชาติพันธ์ุ ศาสนา
และภาษา (Declaration on the Rights of Persons Belonging to
National or Ethnic, Religious and Linguistic Minorities)” ประเด็น
ปัญหาทางกฎหมายของการให้คำานิยาม คำาว่า “ชนกลุ่มน้อย” มีความยุ่งยาก
มากที่สุดปัญหาหนึ่งในกฎหมายระหว่างประเทศ
อนึ่ง ชนพื้นเมืองดั้งเดิม (Indigenous People) รวมอยู่ในความหมาย
ของชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธ์ุ
คำาที่เกี่ยวข้อง INDIGENOUS PEOPLES, RIGHTS OF
THE MINORITIES, ETHNIC CLEANSING, GENOCIDE,
DISCRIMINATION, AFFIRMATIVE MEASURE
88