Page 102 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 102
ความเป็นธรรมในการดำาเนินคดี เช่น องค์หลักการว่าด้วยความเป็น
อิสระของผู้พิพากษา/ตุลาการ (ดู BODY OF PRINCIPLES ON THE
INDEPENDENCE OF THE JUDICIARY) การกำาหนดให้ผู้ต้องหา
มีสิทธิที่จะมีทนายความ สิทธิในการนำาพยานเข้าสืบและการพิจารณาคดีกระทำา
โดยเปิดเผยต่อสาธารณะ เป็นต้น
FALSE TESTIMONY เบิกความเท็จต่อศาล
การให้ถ้อยคำา หรือแสดงข้อความ ในฐานะเป็นพยานต่อศาลในการ
พิจารณาคดีกฎหมายกำาหนดให้การเบิกความเท็จต่อศาลเป็นความผิดอาญา
ไม่ว่าคดีแพ่งหรือคดีอาญา การเบิกความเท็จนั้น บุคคลผู้เบิกความเท็จ
จะต้องรู้อยู่ก่อนแล้วว่าข้อเท็จจริงนั้นเป็นความเท็จ ถ้าไม่รู้ว่าสิ่งนั้น
เป็นความเท็จไม่ถือว่าเป็นการเบิกความเท็จ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 บัญญัติความผิดเกี่ยวกับการ
เบิกความเท็จต่อศาลว่า
“ผู้ใดเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้น
เป็นข้อสำาคัญในคดี ต้องระวางโทษจำาคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่ง
หมื่นบาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ
ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ได้กระทำาในการพิจารณาคดี
อาญา ผู้กระทำาต้องระวางโทษจำาคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่น
สี่พันบาท”
อนึ่ง จำาเลยที่เบิกความในคดีอาญาที่ฟ้องตนว่า กระทำาความผิด
จะไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ เนื่องจากแนวคิดตามกฎหมายมีว่า บุคคล
ทุกคนมีสัญชาตญาณรักตัวเองและจำาเป็นต้องปกป้องให้ตนเองพ้นภัย
นอกจากนั้นหลักกฎหมายวิธีพิจารณาคดีความอาญามีว่า บุคคลมีสิทธิที่จะ
ไม่ให้การใด ๆ เลยก็ได้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำาสืบพยานหลักฐาน
ให้ศาลเห็นว่า จำาเลยกระทำาผิด
91