Page 101 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 101
สำาหรับประเทศไทย การุณยฆาต ได้รับการรับรองโดย มาตรา 12
แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) กำาหนดว่า
“บุคคลมีสิทธิทำาหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการ
สาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติ
ความทรมานจากการเจ็บป่วยได้ การดำาเนินการตามหนังสือแสดงเจตนา
ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำาหนดในกฎกระทรวง
เมื่อผู้ประกอบอาชีพสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตาม
วรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำานั้นเป็นความผิดแล้วพ้นจากความผิด
ทั้งปวง”
FAIR TRIAL, สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดี
THE RIGHT TO ด้วยความเป็นธรรม
สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของบุคคลที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม
ทั้งในคดีอาญาและคดีแพ่ง
สิทธินี้ได้รับการรับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 11
และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 14
และอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคของทุกภูมิภาค นอกจากนั้น
สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีด้วยความเป็นธรรม เป็นหลักกฎหมายทั่วไป
ที่รับรองโดยนานาอารยประเทศ หลักการนี้ได้รับการรับรองโดยกฎหมาย
มหาชนของประเทศต่าง ๆ เกือบทุกประเทศ
อย่างไรก็ตาม การพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมเป็นคำาที่มีความหมายกว้าง
และมีองค์ประกอบ หรือปัจจัยหลายด้านที่จะทำาให้สิทธินี้เกิดเป็นจริงขึ้น
เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย เช่น โจทก์
จำาเลย อัยการ ทนายความหรือที่ปรึกษาคดี เจ้าพนักงานสอบสวนในคดี
อาญาและศาล
ดังนั้นกฎหมายภายในประเทศจึงได้สร้างระเบียบ กฎเกณฑ์เกี่ยวกับ
การดำาเนินคดี เพื่อทำาให้การดำาเนินคดีเกิดความเป็นธรรม กฎเกณฑ์เหล่านี้บัญญัติ
อยู่ในกฎหมายวิธีพิจารณาความ (Procedural Law) นอกจากนั้นประเทศต่าง ๆ
ได้ร่วมกันกำาหนดมาตรฐาน และหลักการเพื่อเป็นเงื่อนไขที่จะนำาไปสู่
90