Page 104 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 104
ในอดีตผู้หญิงมีบทบาททางสังคมค่อนข้างน้อย และความรับผิดชอบ
ต่าง ๆ ภายในครัวเรือนก็ตกเป็นหน้าที่ของผู้หญิงเพียงฝ่ายเดียว โดยมีรูปแบบ
และความเข้มงวดที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นและวัฒนธรรม เช่น การที่
ผู้หญิงไม่มีสิทธิเลือกตั้ง การที่ผู้หญิงไม่สามารถทำานิติกรรมใด ๆ ได้ด้วยตนเอง
การที่ผู้หญิงต้องรับผิดชอบกิจการต่าง ๆ ในครัวเรือน โดยไม่มีโอกาสหารายได้
จากการทำางานเลี้ยงตนเอง จะต้องได้รับการเลี้ยงดูจากชายผู้เป็นสามีเท่านั้น
หรือการได้รับค่าจ้างต่ำากว่าผู้ชายในงานประเภทเดียวกัน เป็นต้น จนกระทั่ง
มีการเรียกร้องสิทธิสตรีในด้านต่าง ๆ ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไม่ว่าจะเป็น
สิทธิเหนือเนื้อตัวร่างกายของตน สิทธิที่จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใน
อสังหาริมทรัพย์ สิทธิในการเลือกตั้งสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างเท่ากับเพศชาย
ในงานประเภทเดียวกัน รวมถึงสิทธิบางประเภทที่เป็นสิทธิเฉพาะเพศหญิง
เท่านั้น เช่น สิทธิในการลาคลอด เป็นต้น
คำาที่เกี่ยวข้อง WOMEN’S RIGHTS, DISCRIMINATION AGAINST
WOMEN, VIOLENCE AGAINST WOMEN, CEDAW, INTERNATIONAL
WOMEN’S DAY, EQUAL PAY FOR EQUAL WORK
FINE 1. โทษปรับ 2. ค่าปรับ
1. โทษปรับ โทษอาญาชนิดหนึ่ง ที่จำาเลยต้องชำาระเงินตามจำานวน
ที่ศาลมีคำาพิพากษา ซึ่งจำานวนเงินที่ศาลลงโทษปรับนั้นจะกำาหนดไว้
ในฐานความผิด ซึ่งศาลอาจพิจารณาลดจำานวนเงินค่าปรับได้
ตามเหตุแวดล้อมของคดี
ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทยกำาหนดว่า หากจำาเลยไม่ชำาระค่าปรับ
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคำาพิพากษา จำาเลยอาจถูกยึดทรัพย์สิน
ใช้เป็นค่าปรับ หรือถูกกักขังแทนค่าปรับ อย่างไรก็ตาม หากศาลมีเหตุสงสัยว่า
จำาเลยจะไม่ชำาระค่าปรับ ศาลอาจสั่งให้กักขังจำาเลยแทนค่าปรับไปก่อนก็ได้
โดยกฎหมายจะกำาหนดอัตราค่าปรับ ซึ่งคิดจากฐานอัตราค่าจ้างขั้นต่ำา
เป็นเกณฑ์การกักขังแทนค่าปรับจะคิดเป็นค่าปรับอัตราสองร้อยบาทต่อหนึ่งวัน
และหากจำาเลยเคยถูกควบคุมตัวมาก่อนไม่ว่า จะเป็นชั้นสอบสวนหรือชั้นศาล
ศาลจะนำาวันที่จำาเลยถูกควบคุมตัวมาหักออกจากวันขังด้วย
93