Page 98 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 98
ความเสมอภาคในผลลัพธ์ถือแนวคิดว่า โดยสภาพความเป็นจริงมนุษย์
มิได้เท่าเทียมกันทุกคน แต่ละคนมีข้อได้เปรียบ เสียเปรียบทั้งทางด้านร่างกาย
สังคม ทรัพย์สิน ประสบการณ์ชีวิต และสติปัญญาในการเลือก คิด
ตัดสินใจ ดังนั้น ในการแข่งขันเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ถ้ารัฐปล่อย
ให้ดำาเนินไปอย่างเสรี โดยให้ทุกคนแข่งขันกันเองภายใต้เงื่อนไข กฎเกณฑ์
ที่เหมือนกัน กลุ่มที่เสียเปรียบดังกล่าวก็จะไม่มีโอกาสได้แข่งขันกับกลุ่มที่
ได้เปรียบตามสภาพความเป็นจริงได้ ความเสมอภาคในผลลัพธ์จะต้อง
เสริมสร้างมาตรการ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคกันขึ้นในผลท้ายสุด เพื่อให้
มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมที่แท้จริงโดยเฉพาะข้อเสียเปรียบที่บุคคล
ได้รับติดตัวมาตั้งแต่กำาเนิด เช่น ความพิการ อัตลักษณ์ของความเป็น
ชนกลุ่มน้อย เช่น ภาษา สีผิว ความเชื่อทางศาสนา หรือเชื้อชาติ เป็นต้น
ดังนั้น ความเสมอภาคในผลลัพธ์ไม่เพียงแต่ต้องการกฎเกณฑ์กติกา
ที่ไม่มีการเลือกปฏิบัติเท่านั้น แต่ยังรวมถึงรัฐจะต้องมีมาตรการพิเศษ
หรือมาตรการเชิงยืนยันสิทธิ (ดู AFFIRMATIVE ACTION) ให้กับบุคคล
ที่เสียเปรียบตามความเป็นจริงด้วย
ในการพิจารณาพันธะหน้าที่ของรัฐในการสร้างความเสมอภาค
ของบุคคลนั้น คณะกรรมการประจำาสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนแต่ละฉบับ
จะให้ความสำาคัญต่อความเสมอภาคในด้านผลลัพธ์มากกว่าความเสมอภาค
ในด้านกฎหมาย
ETHNIC MINORITY ชนกลุ่มน้อยทางด้านชาติพันธ์ุ
กลุ่มประชากรที่มีความแตกต่างทางด้านชาติพันธ์ุและมีสถานะเป็น
พลเมืองของประเทศที่ตนอาศัยอยู่และมีจำานวนสมาชิกน้อยกว่ากลุ่มชาติพันธ์ุ
ที่มีอำานาจในการปกครองประเทศ
กรณีแอฟริกาใต้ในยุคที่มีการปกครองระบอบแบ่งแยกสีผิวที่คนผิวขาว
มีจำานวนประชากรน้อยกว่าคนผิวดำา (ซึ่งเป็นคนพื้นเมือง) แต่คนผิวขาวมีอำานาจ
ปกครองประเทศ ดังนั้น คนผิวขาวได้เป็นรัฐบาลปกครองประเทศ จึงไม่ถือว่า
เป็นชนกลุ่มน้อยในแอฟริกาใต้
87