Page 95 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 95
เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ยึดถือจารีตประเพณี และหลักกฎหมายตาม
พระราชบัญญัติต่าง ๆ เป็นหลักในการปกครองประเทศ)
สาระสำาคัญของบทบัญญัติสิทธิ ได้แก่
• การจำากัดสิทธิต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ที่เกี่ยวกับการบริหาร
แผ่นดิน เช่น การห้ามตั้งศาลพิเศษเพื่อพิจารณาคดีใด
คดีหนึ่งเป็นการเฉพาะห้ามแทรกแซงการเลือกตั้งสมาชิก
รัฐสภา และห้ามแทรกแซง หรือยับยั้งการออกกฎหมายของ
รัฐสภา เป็นต้น
• จำากัดสิทธิของพระมหากษัตริย์ที่จะกระทำาการใด ๆ โดยไม่
ปรึกษารัฐสภาก่อน เช่น ห้ามออกกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บภาษี
โดยไม่ได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภา และห้ามระดมพล หรือ
ตั้งกองทัพ ในยามสงบโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
• ห้ามพระมหากษัตริย์แทรกแซงเสรีภาพของประชาชนในการมีอาวุธ
เพื่อป้องกันตนเอง ทั้งนี้เนื่องจากพระเจ้าเจมส์ที่สอง ซึ่งนับถือ
ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกได้ออกประกาศห้ามชาวคริสต์นิกาย
โปรเตสแตนท์มีอาวุธ
• การรับรองสิทธิ และเสรีภาพพื้นฐานของประชาชนในราชอาณาจักร
สิทธิดังกล่าวยังถือปฏิบัติต่อมา และได้ขยายไปถึงประชาชน
ในดินแดนอาณานิคมของอังกฤษด้วย
• การรับรองสิทธิของราษฎรในการที่จะถวายฎีกาต่อพระมหา-
กษัตริย์
• การบัญญัติลำาดับสิทธิในการสืบสันตติวงศ์ของราชอาณาจักรอังกฤษ
คำาที่เกี่ยวข้อง GLORIOUS REVOLUTION
84