Page 100 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 100
EUTHANESIA การุณยฆาต
การทำาให้บุคคลอื่นที่อยู่ในวาระสุดท้ายแห่งการมีชีวิตตายอย่างไม่
ทุกข์ทรมาน
คำานี้มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ “eu” (ดี) และ “thanatos” (ตาย)
รวมกัน หมายถึง ตายดี หรือตายอย่างสงบ
การุณยฆาตมีข้อโต้แย้งในด้านความชอบธรรม โดยบางคนเห็นว่า
เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยพ้นจากความทุกข์ทรมานจากโรคร้ายที่รักษาไม่หาย
เพื่อจบชีวิตลงอย่างสงบ ปราศจากความทุกข์ทรมานและความเจ็บปวด
อันเป็นการจบชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี ในขณะที่มีข้อโต้แย้งว่า การุณยฆาต
อาจถูกนำามาเป็นช่องทางในการทำาลายชีวิตมนุษย์ หรือลิดรอนสิทธิ
ความเป็นมนุษย์
ในด้านสิทธิมนุษยชน การุณยฆาต เป็นประเด็นที่ซับซ้อนมาก
ประเด็นหนึ่งเพราะเกี่ยวพันกันหลายด้าน เช่น ประเด็นปัญหาว่าเจ้าของชีวิต
มีสิทธิที่จะระงับการมีชีวิตของตนเองหรือไม่ ประเด็นเรื่องศีลธรรม
ของบุคคลที่ตัดสินใจทำาการการุณยฆาต (เช่น ญาติผู้ป่วยที่หมดหนทาง
รักษา เป็นต้น) และหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐในการปกป้องคุ้มครองชีวิต
ของบุคคล นอกจากนั้นยังมีปัญหาในด้านเทคนิคว่า จะใช้สิ่งใดมาเป็นเกณฑ์
ตัดสินว่า กรณีใดที่จะยอมให้มีการทำาการุณยฆาตได้ เนื่องจากไม่สามารถ
บอกเจตจำานงของผู้ป่วยได้
กฎหมายอาญาบางประเทศไม่รับรองการการุณยฆาต เช่น กฎหมาย
อาญาของประเทศเยอรมนีกำาหนดให้ผู้กระทำาต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย
แม้ว่าผู้ป่วยจะเป็นฝ่ายร้องขอให้หยุดชีวิตของตนก็ตาม แต่กฎหมายอาญา
ของประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้รับรองการการุณยฆาตว่าถ้าเป็นคำาสั่ง
ของผู้ป่วยที่มีสติบริบูรณ์ หรือผู้ป่วยได้เขียนคำาสั่งหรือพินัยกรรมไว้
ล่วงหน้า และญาติได้นำาคำาสั่ง หรือพินัยกรรมดังกล่าวไปแสดงต่อแพทย์
เพื่อดำาเนินการในลักษณะของการระงับการรักษาหรือเร่งให้เสียชีวิต
การกระทำาของแพทย์ไม่ผิดกฎหมาย
89