Page 94 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 94
เมื่อมีการประกาศใช้พระราชกำาหนดแล้ว คณะรัฐมนตรีต้องเสนอ
พระราชกำาหนดนั้นต่อรัฐสภาในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไป เพื่อการพิจารณา
โดยไม่ชักช้า ถ้าอยู่นอกสมัยประชุมและการรอการเปิดสมัยประชุมสามัญ
จะเป็นการชักช้า คณะรัฐมนตรีต้องจัดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ
เพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำาหนดโดยเร็ว
ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติพระราชกำาหนดดังกล่าว หรือในกรณี
ที่สภาผู้แทนราษฎรอนุมัติ แต่วุฒิสภาไม่อนุมัติ และสภาผู้แทนราษฎรยืนยัน
การอนุมัติด้วยคะแนนเสียงน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่
มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร พระราชกำาหนดนั้นเป็นอันตกไป แต่ทั้งนี้
ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำาหนด
นั้นแล้ว
คำานี้มีความหมายเหมือนกับ “ROYAL ORDINANCE”
ENGLISH BILL บทบัญญัติสิทธิ
OF RIGHTS (ของประเทศอังกฤษ)
กฎหมายที่รับรองสิทธิเสรีภาพของพลเมืองอังกฤษ มีชื่อเต็มว่า
“พระราชบัญญัติประกาศสิทธิและเสรีภาพของพสกนิกรและการกำาหนด
เกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์” (An Act Declaring the Rights and
Liberties of the Subject and Settling the Succession of the Crown)
ประกาศใช้ใน ค.ศ. 1689 (พ.ศ. 2232) ในรัชสมัยพระเจ้าวิลเลียมที่สาม
ซึ่งพระราชบัญญัตินี้จัดทำาขึ้นโดยรัฐสภา เพื่อต่อรองกับการที่รัฐสภาได้สถาปนา
พระเจ้าวิลเลียมที่สามขึ้นเป็นกษัตริย์อังกฤษ หลังจากได้ทำาการ “ปฏิวัติ
อันเรืองโรจน์” สำาเร็จ (ดู GLORIOUS REVOLUTION)
“บทบัญญัติสิทธิ” ถือกันว่า เป็นกฎหมายฉบับสำาคัญที่เป็นรากฐาน
ของกฎหมายรัฐธรรมนูญประเทศอังกฤษและกฎหมายปกครองสำาคัญ
หลายฉบับของประเทศในเครือจักรภพอังกฤษอีกด้วย เช่น พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการประกาศสิทธิ พ.ศ. 2232 (Claim of Rights Act 1689) ของประเทศ
นิวซีแลนด์และประเทศแคนาดา เป็นต้น (ประเทศอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญ
83