Page 48 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 48
เพราะวิธีการปฏิบัติงานในแต่ละประเทศอาจมีความแตกต่างกันในรายละเอียด
อันอาจจะเนื่องมาจากกฎหมาย ทรัพยากร เทคโนโลยี หรือสภาพแวดล้อมอื่น
สิ่งที่เป็นเจตนารมณ์ในการวางหลักการร่วมกันเพื่อพัฒนาการคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนเรื่องนั้น จึงกลั่นกรองเฉพาะสิ่งจำาเป็นที่เป็นหลักการมาใช้
เป็นเครื่องชี้แนวทาง (ดู BODY OF PRINCIPLES FOR THE
PROTECTION OF ALL PERSONS UNDER ANY FORM OF
DETENTION OR IMPRISONMENT)
BREACH OF CONFIDENCE การล่วงละเมิดความลับ
หลักกฎหมายคอมมอนลอว์ที่กำาหนดให้บุคคลที่ใช้พฤติการณ์ที่ไม่สมควร
สืบเสาะแสวงหา หรือเข้าไปล่วงรู้ข้อมูลสารสนเทศของบุคคลอื่นที่ไม่ประสงค์
และเป็นเหตุทำาให้บุคคลผู้ครอบครองข้อมูลเสียประโยชน์ บุคคลที่กระทำาการ
ล่วงรู้ความลับต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง ข้อมูลที่เป็นความลับนั้น
คือข้อมูลที่ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลไม่ประสงค์เปิดเผยต่อ
สาธารณะ ข้อมูลดังกล่าวอาจเป็นข้อมูลของเอกชน หรือข้อมูลราชการ
ก็ได้
ความรับผิดของบุคคลเกิดขึ้นเมื่อข้อมูลสารสนเทศใดได้ล่วงรู้โดยบุคคล
บุคคลที่เป็นเจ้าของความลับ สามารถเรียกร้องให้ฝ่ายที่ทำาให้ข้อมูลสารสนเทศ
ใดได้ล่วงรู้โดยบุคคลอื่นใดได้รับผิดทางแพ่งได้
เดิมกฎหมายคอมมอนลอว์ของอังกฤษ กำาหนดความรับผิดทางแพ่ง
เฉพาะกรณีที่ผู้เป็นเจ้าของข้อมูลต้องเสียประโยชน์จากข้อมูลที่เป็นความลับ
ซึ่งหลักการนี้ได้พัฒนาไปอย่างมากในเรื่องความลับทางการค้า สิทธิบัตร
โดยที่ไม่ได้คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในลักษณะของ “สิทธิในความเป็นส่วนตัว”
หรือ “the Right to Privacy” ดังนั้น สิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลจึงไม่ได้รับ
การคุ้มครองโดยกฎหมาย เป็นเหตุให้บุคคลที่ถูกล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัว
นำาคดีไปฟ้องร้องต่อศาลสิทธิมนุษยชนจำานวนมาก อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำาให้
มีการผลักดันให้ประเทศอังกฤษตราพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1998
(พ.ศ. 2541) (Human Rights Acts) ซึ่งเป็นการรับเอาอนุสัญญายุโรปว่า
ด้วยสิทธิมนุษยชนมาเป็นกฎหมายภายใน เพื่อให้มีบทบัญญัติเป็นกฎหมาย
37