Page 47 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 47
• การได้รับการรับรองจากรัฐในเรื่องความปลอดภัยและในการทำางาน
ตามวิชาชีพ
• การได้รับการรับรองจากรัฐในเรื่องระเบียบวินัยและการลงโทษ
ผู้พิพากษาและตุลาการ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ค.ศ. 2007)
ได้บัญญัติหลักประกันความเป็นอิสระของผู้พิพากษาไว้ ในมาตรา 197
ซึ่งมีสาระสำาคัญ คือ
• ผู้พิพากษามีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีทั้งปวง โดยไม่อยู่
ภายใต้การบังคับบัญชาตามลำาดับชั้น
• การโยกย้ายผู้พิพากษาต้องได้รับความยินยอมจากตัวผู้พิพากษา
ที่จะถูกย้ายก่อน เว้นแต่เป็นการโยกย้ายตามวาระ การเลื่อนตำาแหน่ง
ให้สูงขึ้น หรืออยู่ระหว่างการถูกดำาเนินการทางวินัย หรือตกเป็นจำาเลย
ในคดีอาญา หลักการข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้พิพากษา
ถูกกลั่นแกล้ง หรือถูกแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่จากผู้บริหาร
• ผู้พิพากษาจะเป็นข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำารงตำาแหน่งทาง
การเมืองมิได้
BODY OF PRINCIPLES องค์หลักการ
เอกสารที่รวบรวมหลักการหลาย ๆ ข้อที่ผู้ร่างมีความเห็นร่วมกันว่า
มีความเกี่ยวข้อง และจำาเป็นในการปฏิบัติงานด้านใดด้านหนึ่งไว้เป็นเอกสาร
เดียวกัน โดยเขียนให้เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เพื่อประโยชน์ในการชี้แนวทาง
ในการปฏิบัติงานในด้านนั้น “องค์หลักการ” จึงเป็นการประมวลหลักการ
มีลักษณะคล้ายกับประมวลกฎหมาย
ตราสารทางสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ที่ใช้ชื่อว่า “องค์หลักการ”
เป็นเอกสารที่จัดทำาขึ้นเพื่อสนองตอบความจำาเป็นในการดำาเนินงานที่เป็นภาระ
หน้าที่ตามปกติ เพื่อให้สอดคล้องกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเฉพาะด้าน
เช่น สิทธิผู้ต้องขัง สิทธิบุคคลที่เข้ารับบริการทางการแพทย์ เป็นต้น ที่ต้องใช้
ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของบุคลากรสาขานั้น ในการรวบรวมจัดทำาขึ้น ทั้งนี้
36