Page 46 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 46
และสังคมแห่งสหประชาชาติใน ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528)
องค์หลักการฯ ได้วางแนวทางในการบริหารความยุติธรรมในส่วน
ที่เกี่ยวกับผู้พิพากษา / ตุลาการ นับตั้งแต่การเข้าสู่ตำาแหน่ง การจ่ายสำานวนคดี
การเลื่อนตำาแหน่ง และการคุ้มครองผู้พิพากษา / ตุลาการจากอิทธิพลต่าง ๆ
เพื่อให้ผู้พิพากษา / ตุลาการสามารถทำางานในหน้าที่ได้อย่างเที่ยงธรรม
อันสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชน เช่น
• การได้รับการประกันจากรัฐที่กำาหนดให้ผู้พิพากษามีอำานาจในการ
พิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโดยปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายใด ๆ
• การได้รับการรับรองจากรัฐในการกำาหนดให้ผู้พิพากษาหรือศาล
ซึ่งตั้งขึ้นโดยกฎหมายมีอำานาจในการพิจารณาคดีแต่เพียงผู้เดียว
และจะไม่มีการเข้าแทรกแซงใด ๆ เช่น การบัญญัติกฎหมายเพื่อให้
เปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อใช้บังคับแก่คดีใดคดีหนึ่ง
โดยเฉพาะจะกระทำามิได้
• การได้รับรองหลักการในเรื่องหลักของความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
(The Principles of the Independence of the Judiciary) ขึ้น
เพื่อให้เป็นหลักประกันความเป็นอิสระแก่ผู้พิพากษาว่า หลักการ
ดังกล่าวจะได้รับการยอมรับโดยรัฐ และคู่ความอย่างแท้จริง
• การได้รับรองในเรื่องอิสระของการแสดงความคิดและสิทธิ
ในการจัดตั้งและเข้าร่วมสมาคม โดยต้องรักษาไว้ซึ่งเกียรติยศ
ศักดิ์ศรีของผู้พิพากษา / ตุลาการ
• การได้รับการรับรองในเรื่องคุณสมบัติและการคัดเลือกบุคคล
เข้าดำารงตำาแหน่งผู้พิพากษา / ตุลาการ
• การได้รับการรับรองในเรื่องค่าตอบแทนหรือเงินเดือนตลอดจน
ระยะเวลาในการดำารงตำาแหน่งของผู้พิพากษา
• การได้รับการรับรองจากรัฐในเรื่องอำานาจหน้าที่ที่จะได้รับมอบหมาย
ในการตัดสินคดีในศาลโดยการแจกสำานวนของเจ้าหน้าที่บริหารศาล
ซึ่งมีหลักการว่าในการแจกสำานวนแก่ผู้พิพากษานั้น จะต้องแจก
สำานวนด้วยความเป็นธรรม
35