Page 49 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 49
ลายลักษณ์อักษร กำาหนดความรับผิดการล่วงรู้ความลับ และการสอดแทรก
ความเป็นส่วนตัวของบุคคลจึงชัดเจนขึ้น
BROADCAST การกระจายเสียงหรือภาพ
การทำาให้แพร่หลายซึ่งข้อความ ข้อมูล ข่าวสาร หรือเนื้อหาที่เป็นรูปแบบ
รายการผ่านเครื่องส่งสัญญาณ หรือเครื่องมือถ่ายทอดสัญญาณเสียง หรือภาพ
สู่สาธารณชน โดยอาศัยคลื่นความถี่เป็นสื่อตัวนำาในการส่งไปยังเครื่องรับ
การกระจายเสียงหรือภาพเป็นสิทธิที่เป็นเครื่องมือ (Instrumental
Right) อย่างหนึ่งในการใช้เสรีภาพในการแสดงออก (Freedom of Expression)
ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับการรับรองโดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
(Universal Declaration of Human Rights) ข้อ 19 สิทธินี้จะต้องไม่ถูก
แทรกแซงจากรัฐโดยพลการ แต่อย่างไรก็ตามเสรีภาพในการกระจายเสียงหรือ
ภาพอาจถูกจำากัดได้ตามหลักการจำากัดสิทธิและเสรีภาพที่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยทั่วไปรัฐจะกำากับดูแลกิจการกระจายเสียงหรือภาพ เพื่อเป็น
การป้องกันไม่ให้เกิดผลด้านลบกับสาธารณชน หลายประเทศใช้ระบบ
ใบอนุญาต (Licensing System) ประกอบกับตั้งองค์กรที่เป็นอิสระ
ปราศจากการแทรกแซงหรือการครอบงำาจากกลุ่มผลประโยชน์ เป็นต้น
เพื่อทำาหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการกระจายเสียงหรือภาพ
การวางกฎระเบียบต่าง ๆ ตลอดจนการควบคุมกิจการกระจายเสียง
หรือภาพให้เกิดประโยชน์สาธารณะและเป็นหลักประกันเกี่ยวกับสิทธิ
เสรีภาพของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้วยความเสมอภาค
และเท่าเทียมกัน
ในประเทศไทยได้มีการจัดตั้ง “สำานักงานคณะกรรมการกิจการ
กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ” (กสทช.)
ที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ค.ศ. 2007) มาตรา 47
กำาหนดให้เป็นองค์กรอิสระมีอำานาจหน้าที่พิจารณาอนุญาตและกำากับดูแล
การใช้คลื่นความถี่ในการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ
โทรคมนาคม หรือในกิจการวิทยุคมนาคม การออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบ
กิจการฯ นอกจากนั้นคณะกรรมการฯ ยังมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิและ
38