Page 44 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 44
• ชื่อเด็กที่เกิด วัน เดือน ปี และเวลาที่เกิด
• สถานที่เกิด (บ้านเลขที่ ตำาบล อำาเภอ จังหวัด ประเทศ)
• ชื่อบิดา มารดา
• ชื่อเจ้าหน้าที่ผู้จดทะเบียนการเกิด หรือผู้ออกใบสูติบัตรพร้อมตรา
ประทับ
ข้อมูลในสูติบัตร เช่น วันที่เกิด เป็นหลักฐานแสดงการเริ่มต้นของสถานภาพ
ทางกฎหมายของบุคคล อันทำาให้บุคคลมีสิทธิต่าง ๆ หลายประเทศกำาหนดให้
สภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่เกิด อย่างไรก็ตามกฎหมายอาจให้สิทธิบุคคลย้อนหลัง
ขึ้นไปตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กข้อ 7 กำาหนดว่าเด็ก
จะต้องได้รับการจดทะเบียนทันทีหลังการเกิดและมีสิทธิที่จะมีชื่อตั้งแต่เกิด
ใน พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วย
สิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532) และได้ตั้งข้อสงวนในเรื่องการจดทะเบียน
การเกิด เนื่องจากสาเหตุด้านความมั่นคง และการมีสัญชาติของเด็ก ต่อมา
ประเทศไทยได้ยกเลิกข้อสงวนนี้
คำาที่เกี่ยวข้อง NATIONALITY, CITIZENSHIP, ALIEN,
STATELESS PERSON, DIPLOMATIC PROTECTION
BLASPHEMY การหมิ่นศาสนา
จากภาษากรีก ละติน blasphemare แปลว่า “ฉันทำาลายชื่อเสียง
(I injure reputation)”
การกระทำาที่เป็นการดูหมิ่น เดิมหมายถึง การเปล่งวาจาดูหมิ่น
เหยียดหยามศาสนา คำาสอน หรือทำาให้เกลียดชัง ขาดการนับถือ ซึ่งรวมถึง
การทำาให้พระเจ้า หรือศาสดาของศาสนาเสื่อมเสียเกียรติยศ โดยการแสดง
ข้อความโดยวาจาลายลักษณ์อักษร หรือสัญลักษณ์
ตามกฎหมายคอมมอนลอว์ (ดู COMMON LAW) ความผิดที่เป็น
การหมิ่นศาสนา พระเจ้า หรือศาสดาไม่จำาเป็นต้องมีเจตนาที่จะดูหมิ่น
หรือเหยียดหยาม หรือมีเจตนาทำาให้เสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติยศ
33