Page 45 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 45
เดิมกฎหมายอาญาของหลายประเทศ กำาหนดให้การหมิ่นศาสนา
เป็นความผิดมีโทษและมักมีโทษรุนแรง แต่ในปัจจุบันประเทศในยุโรป
หลายประเทศได้ยกเลิกความผิดนี้ บางประเทศยังคงมีความผิดแต่มี
บทลงโทษเพียงเล็กน้อย ส่วนประเทศตะวันออกกลางบางประเทศยังคงมี
บทลงโทษอย่างรุนแรง
ประมวลกฎหมายอาญาของไทย ไม่มีความผิดฐานหมิ่นศาสนาโดยตรง
แต่ได้กำาหนดความผิดของบุคคลที่กระทำาอันเป็นการเหยียดหยามศาสนาซึ่ง
“กระทำาแก่วัตถุหรือสถานที่อันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด”
มีโทษจำาคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่น
สี่พันบาท แต่การกระทำาความผิดดังกล่าวจะต้องมีเจตนาเหยียดหยาม
อันต่างจากกฎหมายเกี่ยวกับการหมิ่นศาสนา พระเจ้า หรือศาสดา
ตามความหมายของคอมมอนลอว์ข้างต้น
การหมิ่นศาสนา มีความสัมพันธ์กับเสรีภาพในการนับถือและแสดงออก
ความเชื่อทางศาสนา เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพทางวิชาการ
หลายกรณีที่การใช้เสรีภาพในการแสดงออกขัดกับหลักคำาสอนหรือความเชื่อ
ทางศาสนา ซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อน ในการเจรจาในเรื่องสิทธิมนุษยชน
ในสหประชาชาติ ต่อมาใน ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) ได้มีการเสนอให้
สมัชชาใหญ่สหประชาชาติรับรอง “ข้อมติว่าด้วยการต่อต้านการหมิ่นศาสนา
(Combating Defamation of Religions)” มีประเทศที่ออกเสียงสนับสนุน
แปดสิบเอ็ดประเทศ ออกเสียงคัดค้านห้าสิบห้าประเทศ และงดออกเสียง
สี่สิบสามประเทศ
BODY OF PRINCIPLES องค์หลักการว่าด้วย
ON THE INDEPENDENCE ความเป็นอิสระ
OF THE JUDICIARY ของผู้พิพากษา/ตุลาการ
หลักการและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำาเนินงานของบุคคลที่ทำาหน้าที่
ตุลาการที่จัดทำาขึ้นในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรม
และการคุ้มครองผู้กระทำาผิด ครั้งที่ 7 ณ นครมิลาน สาธารณรัฐอิตาลี ใน ค.ศ.
1985 (พ.ศ. 2528) และต่อมาข้อกำาหนดนี้ได้รับรองโดยคณะมนตรีเศรษฐกิจ
34